วันอาทิตย์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

พระรอด วัดพระสิงห์ จ.เชียงใหม่ พุทธคุณเพียบ-เทียบรุ่นเก่า

พระรอดเป็นพระหนึ่งใน 5 ของ "พระชุดเบญจภาคี" ซึ่งมีถิ่นกำเนิดอยู่ทางภาคเหนือ ตามประวัติกล่าวกันว่า เป็นพระเครื่องที่พระนางจามเทวี ผู้สร้างเมืองหริภุญชัย ได้เป็นผู้สร้างไว้ พระรอดเป็นพระเครื่องเนื้อดินผสมว่าน ฝีมือช่างหริภุญชัย ในแบบศิลปะลพบุรียุคต้นที่งดงาม และอลังการ เนื้อพระมีความละเอียด และหนึกนุ่ม บางองค์ใกล้เคียงกับเนื้อพระทุ่งเศรษฐีมาก มีด้วยกัน 4 สี คือ สีขาว สีเหลือง สีแดง และเขียว ซึ่งมีมูลค่าสูงเป็นหลักแสน และทะลุล้านในองค์ที่สวยแชมป์

"พระรอด วัดพระสิงห์ เชียงใหม่" ที่สร้างเมื่อปีพ.ศ.2496 ซึ่งเป็นพระที่มีพุทธคุณใกล้เคียงกับของเดิมมากที่สุด เซียนพระหลายท่านยืนยันว่า พระรอดวัดพระสิงห์ เชียงใหม่ บูชาได้ดีไม่แพ้พระรอดอายุพันกว่าปีของลำพูน พระชุดนี้สร้างขึ้นมาเพื่อเป็นอนุสรณ์ในการสร้างพุทธสถานเชียงใหม่ ซึ่งได้กระทำพิธีวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ 28 พ.ค.2496 เวลา 11.45 น. และในเดือนเดียวกันนั้นเอง ตรงกับวันขึ้น 10 ค่ำ เดือน 7 ปีมะเส็ง จัตวาศก จุลศักราช 1315 เริ่มพิธี 9 นาฬิกา 21 นาที 41 วินาที และเริ่มจุดเทียนชัยเวลา 19.20 น. โดยมี พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ เป็นประธานประกอบพิธีมหามงคล พระรอดชุดนี้สร้างจำนวน 84,000 องค์ เพื่อนำรายได้สมทบทุนสร้างพุทธสถานเชียงใหม่

วัสดุในการสร้างใช้ดินบริเวณทิศเหนือของวัดพระคง จังหวัดลำพูน ซึ่งเชื่อกันว่าพระรอดมหาวันในสมัยจามเทวีวงศ์ก็ใช้ดินบริเวณนี้สร้าง จึงทำพิธีตั้งศาลเพียงตาอาราธนาขอจากพระพุทธรูปและอารักษ์ที่รักษาดินแดนแห่งนั้น จากนั้นขุดลงไปเพียง 3 ศอกก็พบดินขวยปูตามที่ต้องการ ลักษณะดินละเอียดเหนียว เมื่อนำมา สร้างพระแล้วแกร่งและสวยงามมาก เมื่อได้ดินที่ต้องการแล้วก็ให้อาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิละลายดินด้วยน้ำพระพุทธมนต์ แล้วนำมากรองด้วยผ้าขาว เก็บผงดินที่ละเอียดเหมือนแป้งมาผสมกับผงพระธาตุ ผงพระเปิม ผงพระเลี่ยง ผงพระคง ผงพระรอด ผงสมเด็จบางขุนพรหม ผงตรีนิสิงเห ผงปถมัง ผงพุทธคุณ และผงอิทธิเจของพระเกจิอาจารย์รุ่นเก่า เช่น หลวงปุ่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า เมื่อผสมจนเข้าเนื้อเดียวกันแล้วก็ปั้นเป็นก้อนกลม ขนาดเท่าผลส้ม ส่งลงมากรุงเทพฯ ให้ อ.ฉลอง เมืองแก้ว (อาจารย์ขมังเวท) เป็นผู้ทำพิธีใส่ธาตุ แล้วนำกลับสู่เมืองลำพูน เพื่อให้ช่างพิมพ์องค์พระออกมาซึ่งมีทั้งหมด 11 พิมพ์

เมื่อถึงเวลาฤกษ์ พระมหาราชครูวามมุนี กับท่านพราหมณ์พระครูศิวาจารย์แห่งกรุงเทพฯ เป็นประธานฝ่ายพราหมณ์ มหาปัญจพิธีโอมอ่านศิวเวทอัญเชิญท้าวเทพยดาทั้งหลายที่สิงสถิตในแผ่นดินล้านนา อัญเชิญพระวิญญาณเจ้าแม่จามเทวีและกษัตริย์ทุกพระองค์ เมื่อจุดเทียนชัยพระมหาราชครูอ่านโองการชุมนุมเทวดา เสร็จแล้วพราหมณ์เป่าสังข์ จบแล้วคณาจารย์ทั้งหมดนั่งปรกบริกรรมปลุกเสกเป็นเวลา 3 วัน 3 คืน

คณาจารย์ที่ร่วมในพิธีก็ล้วนแล้วแต่เป็นที่เคารพนับถือของประชาชน เช่น เจ้าคุณพระศรีสมโพธิ วัดสุทัศน์, เจ้าคุณพระศรีสุวรรณวิสุทธิ์ เจ้าคณะจังหวัดลำปาง, หลวงปู่นาค วัดระฆังฯ, หลวงพ่อสด วัดปากน้ำ, หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม, ครูบาวัง วัดบ้านเด่น, พระครูอาคมสุนทร วัดสุทัศน์, หลวงพ่อเปลี่ยน วัดใต้, หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี, หลวงพ่อภักตร์ วัดบึงทองหลาง, หลวงพ่อทบ วัดเขาชนแดน, หลวงพ่อแฉ่ง วัดบางพัง, หลวงพ่อนอ วัดกลางท่าเรือ, หลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ, หลวงปู่เผือก วัดกิ่งแก้ว, หลวงพ่อสำเนียง วัดเวฬุวัน เป็นต้น

ในขณะที่ทำพิธีบวงสรวงเจ้าแม่จามเทวีมีฝูงผีเสื้อเป็นจำนวนมากบินมาอยู่เหนือเครื่องสังเวย แล้วกระจายบินหายไป คืนที่กระทำพิธีฟ้าคะนองตลอด เกิดแสงแปลบปลาบทั่วท้องฟ้า อากาศเยือกเย็นผิดจากวันอื่นๆ ส่วนคณาจารย์ทั้งหลายต่างเกิดนิมิตเป็นมงคลต่างๆ กัน ถือเป็นเหตุการณ์ที่น่าอัศจรรย์ยิ่ง!!!
ประสบการณ์ของ "พระรอดวัดพระสิงห์" ก็เป็นที่ประจักษ์แก่สาธารณ ชน เช่น ในคราวที่เกิดสงครามเวียดนาม ประเทศไทยได้ส่งทหารไปร่วมรบกับอเมริกา ส.อ.ธาริน แสงศิริ ได้ถูกส่งตัวไปร่วมรบด้วย (กองพันเสือดำ) ซึ่งส.อ. ธารินได้เล่าว่า ได้รับพระรอดรุ่น 96 จากบิดา คล้องคอไปเพียงองค์เดียว เมื่อได้รับมอบหมายให้ออกลาดตระเวนขากลับขณะกำลังกลับเข้าค่ายก็โดนระเบิด และถล่มยิงด้วยอาวุธหนักของเวียดกง ชนิดที่ว่าไม่ได้ตั้งตัว ส.อ.ธารินบอกว่า ขณะกำลังล้มตัวลงเพื่อยิงต่อสู้ได้เห็นเพื่อนทหารร่วมกองลาดตระเวนโดนอาวุธของเวียดกงล้มตายกันเกลื่อนกลาด มารู้ตัวอีกทีก็อยู่บนเตียงในโรงพยาบาลแล้ว ร่างกายไม่มีบาดแผล แต่ปรากฏรอยช้ำเป็นจุดๆ ทั่วร่างกาย

ปัจจุบันนี้ "พระรอดของวัดพระสิงห์" ยังพอหาได้ตามสนามพระ แต่ต้องดูให้ดี พระที่สร้างมาแล้วห้าสิบปีจะยังสดใหม่ และมีกลิ่นดินไม่ได้แล้ว สนนอัตราเช่าหาก็ยังไม่สูงมาก อยู่ในหลักพันกว่าๆ เท่านั้น ยังไม่สูงเกินไป ห้อยพระหลักพันพุทธคุณไม่ต่างจากพระหลักแสน หลักล้าน อย่างนี้สิครับถึงเรียกได้ว่า "ของดีราคาถูก" อย่างแท้จริง

พระรอดวัดพระสิงห์มีทั้งหมด 11 พิมพ์ด้วยกัน สีขององค์พระก็มีหลายสี ที่พบกันมากก็ได้แก่ เนื้อเขียว เนื้อแดง เนื้อพิกุล ที่พบน้อยคือ สีเทา สีขาว และสีดำ ที่ว่ามี 11 พิมพ์ 11 สีนั้นอาจเข้าใจคลาดเคลื่อนกันสักเล็กน้อย ที่ว่ามี 11 พิมพ์นั้นถูกต้อง แต่สีของพระรอดวัดพระสิงห์ รวมถึงพระรอดอื่นๆ นั้นต้องทำความเข้าใจกันตามหลักวิชาการสักนิดว่า

พระรอดที่กล่าวนี้ทำมาจากเนื้อดิน ซึ่งการจะทำให้เนื้อพระแกร่งนั้นต้องนำไปผ่านความร้อนโดยการอบ หรือการเผา เหมือนกับอิฐหรือเซรามิก ซึ่งแน่นอนต้องมีการนำพระจำนวนมากเข้าเตาเผา เพราะมากมายถึง 84,000 องค์

ดังนั้น ความร้อนจากการเผาจึงไม่สามารถสัมผัสกับองค์พระได้ครบทุกองค์ สำหรับองค์ที่ใกล้กับไฟหรือสัมผัสกับความร้อนมากที่สุดจะมีสีดำ และสีเขียว และหดเล็ก เพราะสูญเสียความชุ่มชื้นหรือน้ำที่อยู่ในตัวดิน บางองค์เกิดหมัดไฟ เป็นเม็ดเล็กๆ แตกกระจายตามองค์พระบริเวณต่างๆ คล้ายอีสุกอีใส ซึ่งเกิดจากการทำปฏิกิริยาของธาตุบางอย่างในดินกับความร้อน

ส่วนองค์ที่อยู่ตรงกลางๆ ซึ่งไม่ผ่านหรือผ่านไฟหรือความร้อนน้อย ก็จะมีสีดินธรรมชาติ และขนาดโตกว่าองค์สีดำ และสีเขียว เพราะไม่เกิดการหดตัวมากนัก โดยไล่ไปตามสีน้ำตาล สีแดง สีเทา สีเหลือง สีพิกุล สีขาว แต่ก็ไม่เสมอไป ขึ้นอยู่กับว่าเป็นพิมพ์ใด

ดังนั้น สีของพระจึงไม่อาจกำหนดได้ตอนกดพิมพ์พระ แต่จะมาคัดแยกสีกันตอนกรรมวิธีสร้างพระเสร็จสมบูรณ์แล้ว โดยมีการแยกตามโทนสีจากเข้มไปอ่อน จึงอาจมีโทนสีมากกว่า หรือน้อยกว่า 11 สีก็ได้ และราคาในขณะนั้นก็ไม่ได้แยกตามสี แต่ให้เช่าบูชาในราคาเดียวกัน

"พระรอดวัดพระสิงห์" ที่สมบูรณ์จริงๆ มีไม่ถึง 84,000 องค์ เช่นเดียวกับพระรอดมหาวัน บางองค์จึงอาจแตกหัก ชำรุด สภาพใช้การไม่ได้ บางส่วนหลังจากทำพิธีพุทธาภิเษกที่วัดพระสิงห์แล้ว ยังถูกนำไปเข้าพิธีปลุกเสกที่วัดสุทัศน์อันเลื่องชื่ออีกด้วย โดยทำพิธีปลุกเสกโดยเจ้าอาวาสวัดสุทัศน์ และคณะสงฆ์ ปีละ 2 วาระทุกปีเรื่อยมา จนกระทั่งเจ้าอาวาสวัดสุทัศน์มรณ ภาพ ถ้าจำไม่ผิดประมาณปี 2507 จึงหยุดพิธีปลุกเสก จึงเป็นที่มาของการเรียกชื่อว่าพระรอดวัดสุทัศน์ โดยเอกลักษณ์คือมีการปั๊มด้วยหมึกสีม่วงใต้ฐานพระทุกองค์ ทำให้พระรอดวัดสุทัศน์ไม่ค่อยพบในสนามพระมากนัก และมีราคาเช่าหาสูง

นอกจากนั้นยังมีอีกบางส่วนที่เกจิอาจารย์ชื่อดังสมัยนั้น อาทิ หลวงพ่อเงิน นำกลับไปปลุกเสกเดี่ยวให้กับศิษยานุศิษย์ด้วย พระรอดวัดพระสิงห์นอกจากมีเจตนาสร้างมาเพื่อหารายได้สร้างพุทธ สถานเชียงใหม่ (ปัจจุบันอยู่ใกล้จวนผู้ว่าฯ และบ้านพักอธิบดีผู้พิพากษาภาค 5) แล้วยังมีเจตนาสร้างมาเพื่อใช้แทนพระรอดมหาวัน ลำพูน ตั้งแต่สมัยนั้นแล้ว จึงมีผู้คนกล่าวกันว่า หากหาพระรอดมหาวันไม่ได้ก็หาพระรอดวัดพระสิงห์แทน ราคาหลักพันถึงหลักหมื่น (ตามพิมพ์และตามสภาพ) แต่พุทธคุณหลักล้าน


http://www.itti-patihan.com/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%94-%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B9%8C-%E0%B8%88.%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B9%88-%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%9A-%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B9%88%E0%B8%B2.html

พระรอดหนองมนต์ จ.ลพบุรี

พระเครื่องชุดเบญจภาคี ถือเป็นสุดยอดของพระเครื่องที่หลายคนอยากเป็นเจ้าของ แม้ไม่ได้ทั้ง ๕ องค์ ขอให้มีเพียงหนึ่งก็พอ โดยเฉพาะ พระรอด ลำพูน กรุวัดมหาวัน จ.ลำพูน ซึ่งเป็นพระที่มีชื่อเสียงโด่งดังมาก่อนที่จะมีการจัดพระชุดเบญจภาคีเสียอีก ด้วยความงดงามด้านพุทธศิลป์ มีขนาดกะทัดรัด และขึ้นชื่อว่ามีพุทธคุณสุดยอดและโดดเด่นทางนิรันตราย แคล้วคลาดจากเภทภัยทั้งปวง ทำให้เป็นที่แสวงหาของคนในวงการพระเครื่องเป็นอย่างมาก ค่านิยมอย่างต่ำๆ ต้องมีเงินแสน แต่ถ้าอยากได้พระสวยๆ ต้องมีเงินอยู่ในระดับหลักล้าน 

      ด้วยเหตุที่ค่านิยมที่สูง และอาจจะเรียกว่าแพงมาก มนุษย์เงินเดือน ปุถุชนคนกินข้าวแกงธรรมดาอย่างเราๆ ท่านๆ คงต้องนั่งฝันเป็นแน่ มีลุ้นอยู่ ๒ วัน คือวันที่ ๑ และวันที่ ๑๖ ของเดือน เผื่อว่าจะถูกรางวัลใหญ่ เพื่อจะได้มีพระแพงมาครอบครองบ้าง ขณะที่นั่งรอลุ้นความโชคดีที่จะมาถึง วันนี้จึงอยากจะแนะนำ พระรอด อีกกรุหนึ่ง แม้ความงามจะอ่อนด้อยกว่าพระรอดลำพูน แต่เรื่องพุทธคุณนั้น พูดภาษาชาวบ้านว่า “ท้ากินตัวต่อตัว” ได้อย่างสบาย 

      พระรอด ที่ว่านี้คือ พระรอดหนองมนต์ วัดหนองมนต์ อ.ท่าวุ้ง จ.ลพบุรี พระรอดหนองมนต์ แตกกรุประมาณ พ.ศ.๒๔๙๐ เนื่องจากมีการลักลอบขุดเจดีย์หาของมีค่าจากพวกมิจฉาชีพ ในการขุดหาของมีค่านั้น ปรากฏว่ามีพระเครื่องออกมาจากกรุด้วยคือ พระรอดหนองมนต์ ที่พบมี ๓ ขนาด คือ พิมพ์เล็ก พิมพ์กลาง และพิมพ์ใหญ่ โดยเฉพาะพระพิมพ์ใหญ่นั้น คนวงการพระเรียกว่า “พิมพ์เล็บเหยี่ยว” ขนาดองค์พระกว้างประมาณ ๑ เซนติเมตร สูงประมาณ ๒-๒.๕ เซนติเมตร 

      ส่วนพิมพ์อื่นๆ พบเพียงเล็กน้อยเท่านั้น เช่น พิมพ์พระร่วงนั่ง พิมพ์หลวงพ่อโต และพิมพ์เม็ดน้อยหน่า เป็นต้น แต่พระ ๓ พิมพ์นี้จะสับสนกับพระวัดสุพรรณ จ.พระนครศรีอยุธยา จึงไม่เป็นที่นิยมเท่าที่ควร สถานที่พบ พระรอดหนองมนต์ คือ วัดหนองมนต์ ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่ ตั้งอยู่ที่ อ.ท่าวุ้ง จ.ลพบุรี มีเจดีย์บรรจุพระไว้ ๒ เจดีย์ 

      ตามตำนานการสร้างพระและประสบการณ์ความขลังของพระรอดหนองมนต์ ในหนังสือ เครื่องรางของขลัง ของ อ.ประชุม กาญจนวัฒน์ ได้กล่าวไว้ว่า “มีสมภารผู้แก่กล้าวิชาอาคมของเมืองพิจิตรท่านหนึ่ง ท่านชอบการแข่งเรือ และเลี้ยงนกเขาเป็นอย่างมาก อยู่มาวันหนึ่ง ท่านลงมือทาน้ำมันยางเรือแข่งจนเสร็จเรียบร้อย จากนั้นมีเด็กมายุ่งกับเรือที่ทาสีน้ำมันยังไม่แห้ง ท่านจึงนำธนูมาเล็งขู่เด็กๆ ให้หนีไป แต่ลูกธนูกลับหลุดมือไปถูกเด็กคนหนึ่งในกลุ่มเข้า ท่านจึงต้องหนีจากพิจิตรมาอยู่ลพบุรี พร้อมด้วยถุงใหญ่ซึ่งบรรจุพระเนื้อตะกั่วจำนวนมาก ติดตัวลงมาด้วย โดยได้นำพระทั้งหมดมาฝังบรรจุกรุไว้ในเจดีย์ทั้ง ๒ องค์ทั้งหมด พุทธลักษณะ และ พุทธศิลป์ พระรอดหนองมนต์ เป็นพระประทับนั่งปางมารวิชัย บนฐานสี่เหลี่ยม ด้านบนปรากฏคล้ายมีเส้นประภามณฑลอยู่รอบเศียร 

      ทั้งนี้ มีผู้รู้ในวงการพระเครื่องท่านหนึ่งเคยกล่าวไว้ว่า ...พบพระรอดหนองมนต์องค์ที่มีสภาพสวยงามชัดเจนมาก เส้นประภามณฑลนั้น แท้ที่จริงแล้วคือ เศียรพญานาค ตามแบบฉบับศิลปะลพบุรี ซึ่งผู้เขียนคิดว่าเป็นไปได้ แต่ก็ไม่เคยพบองค์จริงเลยสักครั้ง เอกลักษณ์ของพระรอดหนองมนต์ที่สำคัญคือ มีเพียง เนื้อตะกั่วสนิมแดง เพียงเนื้อเดียวเท่านั้น รวมทั้งสนิมแดงที่เกิดขึ้นคลุมองค์พระนั้น มักขึ้นเป็นจุดๆ เล็กๆ ชั้นต่อๆ กัน ไม่หนาเป็นแผ่นคลุมพระทั้งองค์ เหมือนพระเนื้อสนิมแดงกรุอื่นๆ ในการแตกกรุของพระรอดหนองมนต์นั้น ว่ากันว่ามีการให้กันเปล่าๆ ไม่มีราคาค่างวดอะไร จนกระทั่งเมื่อมีผู้นำไปใช้แล้วเกิดประสบการณ์เป็นที่เล่าขานมากมาย ผ่านมาประมาณ ๑๐ ปี หลังจากแตกกรุออกมา หรือ พ.ศ.๒๕๐๐ ทำให้ราคาขึ้นไปถึงองค์ละ ๒๕ บาท (สมัยนั้นถือว่าแพงมาก) 

      ต่อมามีทหารพลร่มท่านหนึ่งไปแสดงโดดร่มดิ่งพสุธาโชว์ในตัว จ.ลพบุรี ทหารพลร่มท่านนั้นโดดร่มลงมาแต่โชคร้ายร่มไม่กาง ตกลงสู่พื้นดิน ประชาชนที่ไปชมการโชว์ครั้งนั้นตกตะลึงกับเหตุการณ์ดังกล่าว แต่ที่ต้องตะลึงยิ่งกว่าคือ ทหารพลร่มคนดังกล่าวไม่ได้รับแรงกระแทกใดๆ เลย แถมยังเดินได้เช่นเดียวกับทหารพลร่มคนอื่นๆ มารู้ภายหลังว่าทหารพลร่มคนดังกล่าวแขวน พระรอดหนองมนต์ เพียงองค์เดียวเท่านั้น และที่สำคัญคือ ท่านผู้นี้เคยดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารลพบุรีด้วย แม้ว่า พระรอดหนองมนต์ จะมีเรื่องเล่าเกี่ยวกับพุทธคุณด้านแคล้วคลาด รวมทั้งพุทธคุณด้านอื่นๆ อีกมากมาย ตั้งแต่สนามพระระดับท้องถิ่นถึงสนามพระเมืองหลวง ซึ่งผู้เขียนเองก็ได้ยินเรื่องเล่าเกี่ยวกับพุทธคุณในพระรอดหนองมนต์มาตั้งแต่เด็กจนถึงปัจจุบัน แต่ใครเลยจะคิดว่าค่านิยม หรือที่เรียกว่าราคาเช่าพระรอดหนองมนต์อยู่ในหลักพันถึงหลักหมื่นต้นๆ เท่านั้น ถือเป็นพระที่มากด้วยอายุ และมากด้วยพุทธคุณ หรืออาจจะพูดได้ว่า “พระรอดหนองมนต์เป็นพระถูกดีแท้” ที่น่าสนใจ 

      ด้วยเหตุที่ปัจจุบันเป็นพระที่ได้รับความนิยมมาก อยู่ในประเภทพระเนื้อชินยอดนิยม จึงมีการปลอมแปลง ลอกเลียนแบบหลากหลายฝีมือกันมานานแล้ว ถ้าเป็น พระปลอม ฝีมือรุ่นเก่าๆ ไม่ว่า พิมพ์ หรือ สนิมพระ จะดูห่างจากของจริงค่อนข้างมาก สนิมที่เกาะพระปลอม จะไม่ใช่สนิมแดงที่เกิดขึ้นจริง ส่วนใหญ่จะใช้สีที่โป๊รถยนต์มาทาแทน ซึ่งถ้าเราใช้กล้องส่องดูก็จะมองเห็นได้อย่างชัดเจน แต่ก็ใช่ว่าพระรอดหนองมนต์จะไม่มีการปลอมแปลง หรือลอกเลียนแบบที่ค่อนข้างดี คือเมื่อประมาณ ๑๐ ปีที่แล้ว มีนักปลอมพระกลุ่มหนึ่ง ปลอมพระประเภทเนื้อชินตะกั่วสนิมแดงขึ้นมา ทำเนื้อพระได้ดีมาก จนเซียนน้อยเซียนใหญ่โดนเก๊กันทั่วเมือง 

      สาเหตุที่ทำให้บรรดาเซียนพระโดนเก๊พระชุดนี้ได้ง่าย ก็เพราะว่าคนที่ปลอมพระนั้นได้ใช้เนื้อพระที่เป็นเนื้อชินตะกั่วสนิมแดงแท้ๆ ที่มีขนาดใหญ่ แต่ราคาค่านิยมไม่แพง มากดปั๊มพิมพ์พระขึ้นมาใหม่ ซึ่งมีขนาดองค์พระที่เล็กกว่า แต่มีค่านิยมในราคาสูง พระรอดหนองมนต์ เป็นพระเนื้อชินตะกั่วอีกองค์หนึ่งที่โดนกดปั๊มพิมพ์ประเภทนี้เช่นกัน ด้วยเหตุที่คุณสมบัติของพระรอดหนองมนต์ที่กล่าวมาข้างต้น ในภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวเช่นนี้ หลายท่านที่อยากมีพระเครื่องไว้เป็นที่ยึดเหนี่ยวทางใจ หากมีโอกาสนิมนต์ พระรอดหนองมนต์ ขึ้นคอสักองค์ รับรองว่าไม่ผิดหวังโดยเฉพาะเรื่องพุทธคุณ ที่ใครหลายคนมักพูดว่าพระเก่า พระดี พระแท้ ต้องเป็นพระแพง มีราคาค่างวดสูงๆ นั้น ผู้เขียนขอยืนยันว่ายังมีพระเก่า พระกรุ พระดีแท้ ที่มีราคาถูก ที่มีพุทธคุณเหมือนกันอยู่อีกจำนวนมาก โอกาสหน้าจะหามานำเสนออีก 


http://horoscope.thaiza.com/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B9%8C-%E0%B8%88-%E0%B8%A5%E0%B8%9E%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%B5/157168/

ประวัติหลวงปู่สรวงเทวดาเดินดินตอนที่54พระรอดดำ

ประวัติหลวงปู่สรวงเทวดาเดินดินตอนที่54พระรอดดำปี19วัดภูตะแบง 
ต่อไปเป็นเรื่องหลวงปู่สรวงตอนไปกราบอาจารย์ 

หลวงปู่สรวงได้ออกเดินธุดงค์ไปกับเณรเข้าเขตแดนเขมร เข้าป่า เดินรอมแรมไปยังภูเขาลี้ลับ 
เป็นที่บำเพ็ญเพียรของพระฤาษีชีไพรที่ทีอายุนับพันปี 
อาจารย์ของหลวงปู่สรวง ได้มาอาศัยอยู่ยังที่พนมตาแบง ยังดูแข็งแรง แม้อายุจะนับพันปีแล้ว 
ชื่อลูกตาเมียะ ท่านได้มอบไม้เท้าและรูปฤาษีให้ โดยให้เณรที่ไปด้วยได้ถือติดตัวตลอดมา 
ได้พักอยู่กับอาจารย์ นานพอสมควร ท่านก็ได้พาเดินไปที่อื่นๆเป็นเวลานาน 
การอยู่ในเขมรจึงนับว่าอยู่เป็นแรมปีทีเดียว 

ขอแนะนำพระรอดดำปี19วัดภูตะแบง 
พระชุดนี้หลวงปู่สรวง ท่านได้เมตตาอธิฐานจิตเสกพระชุดนี้หลายครั้ง ๆ และในงานพุทธาภิเษกใหญ่ที่สำนักสงฆ์วัดตาโคลอีกตลอด ๓ วัน ๓ คืน และได้นิมนต์พระอาจารย์สายอีสานใต้ ซึ่งเป็นลูกศิษย์สายหลวงปู่สรวงมาปลุกเสกให้อีกมากมาย พระชุดนี้เก็บอยู่ที่พระอุโบสถวัดสุทัศน์ตั้งแต่ปี ๒๕๔๐ - ๒๕๕๐ ตลอดเกือบ ๑๐ ปี ทางวัดสุทัศน์ได้มีพิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคลต่าง ๆ รวม ๒๐๐ กว่าพิธี และมีพิธีพุทธาเษกใหญ่ประมาณ ๑๒ ครั้ง ซึ่งแต่ละครั้งจะมีสุดยอดพระเกจิอาจารย์ชื่อดังองค์สำคัญของประเทศ มาร่วมด้วย 

มีเนื้อแดงกับดำ 3สี3เนื้อ 
1เนื้อสีแดงดินหินปราสาทขอมโบราณ 
2เนื้อดำผงกสินไฟใบลานเผา 
3เนื้อเขียวผงเก่าของสมเด็จบึงพระยาสุเรนทร์ 

http://www.pantipmarket.com/items/13381072

คาถาพระรอด

พระรอดเป็นพระสกุลลำพูน เป็นหนึ่งในพระเบญจภาคี มีพุทธคุณเด่นในทางแคล้วคลาดปลอดภัย จึงมีผู้นิยมบูชาพระรอดติดตัวกันมาก ประวัติความเป็นมาของพระรอดลำพูนนั้น มียาวนานนับแต่พระฤาษีสร้างนครหริภุญชัย(ลำพูน)นับเป็นเวลาพันปีแล้ว ในปัจจุบันพระรอดองค์จริงจึงนับว่าหายากหากจะแสวงหากันนำมาบูชาสักองค์ แต่ก็มีการสร้างพระรอดสมัยใหม่ที่มีตำรับและพิธีพุทธาภิเษกอย่างสมบูรณ์อีกหลายวัดและหลายพระเกจิอาจารย์ จากการค้นคว้าและศึกษาวิชามนตราของล้านนา ข้าพเจ้าได้พระคาถามาบทหนึ่ง มีชื่อว่า คาถา “พระรอด” โดยคำอธิบายที่ได้รับทราบนั้น ได้กล่าวไว้ว่า หากไม่มีพระรอดองค์จริงก็สามารถนำเอาพระคาถานี้ไปจารเป็นอักขระลงยันต์ได้ หรือจะบริกรรมพระคาถาพระรอดนี้ก็ได้ เท่ากับมีพระรอดเหมือนกัน ซึ่งคาถาพระรอดนี้ก็มีไม่ยาวดังจักเผยแพร่ไว้เก็บรักษาดังนี้
นะโม ๓ จบ
“โอม พระริรอด ขอดพระริรัง ปังพระริรอด”
การจะพกพระเครื่องหรือวัตถุมงคลใด ๆ ก็แล้วแต่ ครูบาอาจารย์ทั้งหลายท่านได้สร้างไว้เพื่อเป็นสติในการใช้ ให้เรารักษาพระ พระจึงจะรักษาเรา ดังนั้น ขอเราทั้งหลายจงอย่างประมาท รักษาพระ คือ สติ ไว้เถิด เจริญธรรม

http://xn--p3clkgba2g.mr-pol.com/%E0%B8%84%E0%B8%B2%E0%B8%96%E0%B8%B2-%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%94.html

ในการวิเคราะบวกกับศึกษาเนื้อหามวลสารการสร้างพระรอด

ในการวิเคราะบวกกับศึกษาเนื้อหามวลสารการสร้างพระรอด ที่ผมมีเนื้อแกร่งมากๆเหมือนหินเลย คราบกรุสนิมออกจากองค์พระเหมือนเม็ดแร่ เนื้อแห้งย่นเหมือนหนังช้างหรือหนังกระเบน ที่เขาชอบตีเป็นกรุอุโมงค๋เพราะต้องการซื้อจากเราราคาถูกลง อันที่จริงก็คือพระรอดยุคเดียวกันหมดครับ ผมก็ศึกษาพระรอดมาพอสมควร ลองคิดแบบตรรกวิทยาและวิทยาศาสตร์ดูนะครับ จะได้เก็บไปคิดวิเคราะห์ พิจารณาพระเวลาเจอพระรอด
1.พระรอดเป็นพระเนื้อดินผสมแร่วิเศษต่างๆมากมาย เมื่อเผาและฝังไว้ในดินนับพันปี จะต้องแกร่งจนเป็นหินหรือเกือบเป็นหิน ลองนึกถึงฟอสซิลดูครับ ฝังอยู่เป็นล้านปีกลายเป็นหินแต่นั่นกลายเป็นหินแบบธรรมชาติ แต่พระรอดมนุษย์สร้างขึ้น เผาโดยการใช้ความร้อนสูงก็อาจจะย่นระยะเวลาได้ระดับหนึ่ง ถ้าเนื้อพระรอดไม่แกร่งเหมือนหินอยู่ในดินนับพันปีคงละลายกลายเป็นเนื้อดินไปหมดแล้วครับ   
2.ตามตำนานการสร้างพระรอด และการวิเคราะห์มวลสารของพระรอด เนื้อพระรอดประกอบด้วยมวลสารประมาณ 18 ชนิด เช่น โพรงเหล็กไหล แร่เหล็กน้ำพี้ แร่เหล็กไหล ศาตราวุธเก่า ว่าน เนื้อดินบริสุทธิฯลฯ เอามาผสมกันแล้วเผาลองคิดดูครับ ฝังในดินนับพันปี จะต้องมีคราบกรุสนิมออกมาจากเนื้อพระแน่นอน ไม่มีแร่เหล็กที่ไหนที่ไม่ขึ้นสนิมหรอกครับ 
3.พระรอดผ่านการเผาด้วยความร้อนเนื้อพระจะต้องแห้งและย่นเนื่องจากเนื้อดินคายความร้อนและหดตัวลง ทำให้ผิวเนื้อพระแห้งคล้ายๆหนังช้างหรือหนังกระเบน ไม่มีพระเยาที่ไหนที่ผิวพระไม่แห้งหรอกครับ
4.ลองนึกย้อนไปถึง 1300 ปีที่แล้ว ว่าพิธีการสร้างพระของพระมหากษัตริย์ จะต้องไม่สร้างน้อยๆอย่างแน่นอน เขาต้องสร้างแบบพิธีหลวง อย่างน้อยๆ 84000 องค์หรือมากกว่านั้นแน่นอน เพราะเขาไม่ได้หวังพุทธพาณิชย์ เขาหวังสืบทอดพระพุทธศาสนา ดังนั้นที่ชอบอ้างกันว่าพระรอดมีน้อยนั้นไม่จริงแน่นอนครับ เพราะพระรอดแตกกรุหลายครั้ง ครั้งแรกๆมากมายด้วย    หลังๆมาก็อาจจะน้อยลงเรื่อยๆ ดังนั้นพระรอดจะต้องมีมากมายครับ ไม่ใช่น้อยๆกันอย่างที่คิด
5.การแกะบล๊อกพระรอด ที่สร้างจำนวนมากๆ จะต้องไม่ใช้ช่างแกะคนเดียว จะต้องมีช่างแกะบล๊อคหลายๆคน เพราะสมัยก่อนพระราชวังจะต้องมีฝ่ายศิลป์หรือกองช่างหลวงคล้ายๆปัจจุบัน ดังนั้นพระรอดจึงแยกออกมาได้หลายพิมพ์ อย่างเช่น พิมพ์ใหญ่ก็จะแยกย่อยไปตามบล๊อคที่แกะอีกที แต่ก็จะมีลักษณะใกล้เคียงกันมากๆ เพราะพระไม่ได้มาจากบล๊อคเดียวกันทั้งหมด
6.เมืองลำพูนสมัยโบราณกว้างครอบคลุมถึงไหนต้องศึกษาอีกหน่อย พระรอดที่ร้างยุคเดียวกันอาจจะไม่ได้ฝังกรุอยู่ที่เดียวกันก็ได้ อาจจะฝังอยู่ตามหัวเมืองต่างๆ และอีกประการหลักฐานทางธรณีวิทยา เมืองลำพูน ประมาณ 500-600 ปีมาแล้วได้มีแผ่นดินไหวอย่างรุนแรงทำให้เมืองจมลงไปในดินในระดับลึกหรือแผ่นดินอาจจะเคลื่อนทำให้กรุที่ฝังอยู่เคลื่อนไปตามดินได้ ทำให้พระรอดอาจจะแตกกรุออกมาจากอำเภอใกล้เคียงหรือชุมชนใกล้เคียงได้
7.คนเฒ่าคนแก่สมัยเก่าก่อนเขาไม่ได้มีแว่นขยายหรือกล้องส่องพระเหมือนดังปัจจุบัน ดังนั้นการแยกแยะพระรอด เขาจะอาศัยการดูเนื้อพระและพิมพ์พระเท่านั้น และพิสูจน์เนื้อพระ เป็นที่มาของการเปรียบเทียบ  ว่าคมเหมือนขอบพระรอด หรือพระรอดจะต้องแกร่งเหมือนหินสามารถกรีดกระจกเป็นร่องลึกเล็กๆได้โดยที่พระไม่บิ่นหรือสึกหรอ
8.พระรอดไม่ได้มีแต่เนื้อหนึกนุ่มแบบดินดิบอย่างเดียว พระรอดยังมีเนื้อละเอียดปนหยาบด้วย เนื้อคล้ายผงหินแกร่งมากๆ
9.บางคนชอบบอกว่าเป็นพระอุโมงค์เชียงใหม่ ลองไปศึกษาประวัติศาสตร์ดูดีๆนะครับ เมืองเชียงใหม่สมัยพระยาเม็งรายเคยมาตีเมืองลำพูนสมัยพระยาอะไรจำไม่ได้ แล้วได้ยึดเอาพระ และวัตถุมงคลต่างๆไปมากมาย พระรอดก็อาจเป็นส่วนหนึง ที่พระยาเม็งราย เมื่อ 700-800 ปีก่อน ได้ขนเอาพระรอดจากเจดีย์ที่แตกหักพังทลาย โดยสั่งให้ทหารเก็บรวบรวมแล้วไปบรรจุไว้ที่กรุวัดอุโมงค์เชียงใหม่ 
ครับเก็บเอาไว้เป็นข้อคิดกันนะครับ อย่าไปยึดติดกับราคา ขนาดผมมั่นใจว่าเป็นพระรอดลำพูนหรือพระรอดมหาวัน  ผมเจอคนถูกใจผมยังให้ฟรีเลยครับ ไม่คิดเป็นตัวเงินด้วยซ้ำ  อย่าลืมนะครับพวกตั้งตนเป็นเซียนทั้งหลายชอบตีพระคนอื่นเก๊ ของตัวเองแท้หมด อีกอย่างพระอยู่กับชาวบ้านกับอยู่ที่คนมีเงิน แม้จะเป็นพระกรุเดียวกัน มันก็ตีค่าราคากันคนละเรื่องครับ เอาอย่างใจศรัทธาดีกว่าครับ ถ้าเรามั่นใจว่าแท้ไม่ต้องไปแคร์ใครห้อยคอบูชาได้เลยครับ ผมเจอถ้าราคาไม่แรงก็เก็บสะสมไว้ครับ   และไม่เคยตีของใครเป็นพระเก๊ ถ้าผมไม่รู้จักหรือไม่เคยเห็น ผมก็บอกว่าบอกตามตรงเลยครับ ใครมีข้อคิดแบบวิทยาศาสตร์ก็ลองช่วยเสนอความคิดดูนะครับ 


http://www.web-pra.com/Forum/Topic/Show/41932/Page/1

ประวัติพระรอด

ข้อความทั้งหมดนี้คัดลอกมาจาก หนังสือ แม่หม่อนเล่าและย้อนอดีตวัดสันป่ายางหลวง จากนิมิตของคุณ ไพศาล แสนไชย เรียบเรียงโดย คุณ ประสิทธิ์ เพชรรักษ์ ทั้งหมดครับ
….เพื่อ เป้นการเผยแพร่ข้อมูบให้ทุกท่านได้ทราบถึงพระรอดซึ่งทรงคุณค่าและได้รับการ รับรองจากดวงวิญญาณอันศักดิ์สิทธิ์ของพระแม่จามเทวี(แม่หม่อนหรือคุณทวด)ว่า มีคุณเปรียบดังพระรอดที่ท่านได้สร้างไว้เมื่อ 2000 กว่าปีมาแล้วครับ
ตุภุญชัย อันตั้งเด่นตระหง่านเป็นพันปี เท่าอายุของนครหริภุญชัยหรือลำพูน ในปัจจุบัน เช่น พระเจดีย์วัดจามเทวีและกู่บรรจุอัฎฐิพระแม่จามเทวี ปฐมกษัตริย์ของหริภุญชัย ตลอดจนพระวัดวาอารามต่างๆ อีกหลายแห่ง ซึ่งล้วนแต่มีประวัติอันยาวนานคู่บ้านคุ่เมือง>>
วัด ที่รู้จักกันดีในบรรดาพุทธศาสนิกชนทั่วประเทศ เพราะเป็นที่บรรจุพระเครื่องสำคัญเป็นอันที่รู้จัก และเป็นที่นิยมกันทั่วไปนับได้ว่าเป็นลัญญสักษณ์อย่างหนึ่งของเมืองลำพูน คือ วัดพระคงฤาษี ซึ่งอยู่ทางทิศเหนือของตัวเมืองลำพูน เป็นที่ประดิษฐานบรรจุพระคง หรือเรียกกันอีกชื่อหนึ่งว่าพระลำพูนดำ หรือ ลำพูนแดง แล้วแต่สีของพระ อีกวัดหนึ่งคือวัดมหาวัน ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกของตัวเมืองลำพูน เป็นวัดที่ประดิษฐานบรรจุพระเครื่องสำคัญ ซึ่งเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขว้าง ทั้งคนในเมืองลำพูน และคนทุกภาคทุกจังหวัดของประเทศไทย ต่างก็พยายามเสาะแสวงหามาไว้บูชาพกพาติดตัวเพื่อพึ่งพลังอิทธิฤทธิ์ ให้แคล้วคลาดจากภยันอันตรายทั้งหลายทั้งปวงอันอาจจะประสบเข้ากับตนเอง และด้วยอำนาจพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณอันบรรจุไว้ในองค์พระรอดนี้ ได้ช่วยให้ผู้ที่บูชากราบไหว้อยู่เสมอ ให้แคล้วคลาดหลุดพ้นจากเหตุการณ์อันตรายได้โดยปลอดภัยราวกับปาฎิหาริย์ มานับครั้งไม่ถ้วน มีหลักฐานบุคคลที่ประสบเหตุการณ์พอที่จะสอบถามได้อยู่มาก
เหตุที่พระรอดเป็นพระเครื่องที่ทรงไว้ ซึ่งอิทธิปาฎิหาริย์อันยิ่งใหญ่ดังที่ได้กล่าวมาแล้วนั้นเป็นเพราะ
1. ผู้สร้างพระรอด (รวมทั้งพระคง และพระลือ) สร้างขึ้นมาด้วยจิตอันบริสุทธิ์ ประกอบด้วยเมตตาธรรมเป็นที่ตั้ง หวังให้บุคคลผู้มีไว้ครอบครอง และบูชาอยู่เป็นนิจ ได้รับความร่มเย็นเป็นสุข รอดพ้นจากภยันตรายทั้งหลายทั้งปวงที่จะมาเบียดเบียนชีวิต ทั้งนี้ โดยไม่หวังผลเป็นอามิสไดๆ ทั้งสิ้น
2. นอกจะมีไว้เพื่อปกป้องประชาชนแล้ว ท่านผู้สร้าง ยังมุ่งหวังเพื่อจะให้คุ้มครองบ้านเมืองให้แคล้วคลาดปราศจากภยันตรายทั้ง หลายทั้งปวง ดังนั้นการสร้างก็อธิฐานไปในทางข่มศัตราวุธและอำนายให้เกิดความแคล้วคลาด (รายละเอียดการสร้างพระรอด โปรดหาอ่านได้จากหนังสือ)
เหตุการณ์มหัศจรรย์
ใน ระยะที่ทางคณะผู้จัดสร้างพระรอด กำลังดำเนินงานกันอยู่นี้ คุณไพศาล แสนไชย ผู้สามารถติดต่อกับเทวโลกได้ และนรกได้ ทำหน้าที่ทูตจากเทวโลกและนรกโลกมาเป็นเวลานานแล้ว ได้นำข่าวจากเทวโลกมาแจ้งให้แก่พระอาจารย์อินทรว่า การสร้างพระรอดครั้งนี้ทางพระสงฆ์ที่อยู่บนเทวโลก ท่านก็ได้ทราบแล้วและทุกท่านที่ทราบ เช่น ท่านครูบาคัณธา คัณธาโล ครูบาสรีวิชัย หลวงพ่อโอภาสี ก็ขอร่วมอนุโมทนา ในเจตนารมณ์อันเป็นบุญเป็นกุศลนี้ และแจ้งด้วยว่าในวันพุทธาภิเกพระนั้น ทุกท่านก็จะลงมาร่วมด้วยพร้อมกับพระสงฆ์อีกหลายรูปที่อยู่บนเทวโลก ในโอกาสนี้ท่านครูบาคัณธา คัณธาโลก สั่งมาว่าขอหัยสาธุเจ้าอินทร ไปบอกกล่าวแก่เทวดาผู้รักษา ดอยไซและขอดินที่ดอยไซมาร่วมผสมทำพระรอดด้วย เพราะเทวดาท่านนี้ในอดีตสมัยพระนางจามเทวีท่านชื่อ ขุนเจ้าคำบุญ เคยร่วมสร้างพระรอดโดยเป็นเจ้าพิธีในการทำทุกขั้นตอน ส่วนท่านพญาพิงคราช ก็กำชับมาว่าอย่าลืมเอาว่านเพชรหลีกมาผสมด้วย จะทำให้พระรอดนี้มีอิทธิทางแคล้วคลาดหลีก พ้นจากอันตราย หลวงพ่อโอภาสี ได้ขิให้ครูบาคัณธา นำท่านไปพบกับหลวงปู่บุญ หรือพระพุทธวิถีนายก วัดกลางบางแก้ว อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม ซึ่งเป็นอาจารย์ของท่านเมื่อยังทรงสังขารอยู่ในมนุษย์โลก แต่ขณะนี้ได้มาสถิตอยู่บนพรหมโลก ท่านมีความรู้เรื่องการสร้างพระเครื่องดีมากเมื่อพบกันแล้วโดยไม่ต้องแจ้ง ความจำนง หลวงปู่กล่าวออกมาทันทีที่คณะของครูบาคัณธา ไปถึงว่า
การดำเนินการสร้างพระรอดในครั้งนี้ พระอาจารย์อินทร ปัญยาวัฑฒโน และบรรดาผู้ร่วมงานได้ตกลงจะจะปฏิบัติตามแบบฉบับเดิมของพระแม่เจ้าจามเทวี ได้ปฏิบัติมา ซึ่งองค์พระแม่เจ้าได้เล่าเรื่องการสร้างพระรอด พระคง พระลือ อย่างละเอียดผ่านคุณไพศาล แสนไชย และได้จัดพิมพ์เป็นรูปเล่มเรื่อง
การอธิษฐานจิตแผ่เมตตาให้แก่แบบพิมพ์พระ
แบบ พิมพ์พระรอดนี้ ได้จ้างผู้ที่มีความรู้เรื่องพระรอดและเคยแกะต้นแบบพระรอดมาแล้วจนชำนาญ เป็นผู้แกะต้นแบบจัดทำพิมพ์พระให้แต่ก่อนที่จะนำแบบพิมพ์ทั้งหมดมาทำการ พิมพ์พระ ท่านอาจารย์อินทร ได้นำเอาแบบพิมพ์เหล่านั้น ไปขอความเมตตาจากครูบาสังฆะที่มากด้วยพรรษา และเปี่ยมด้วยบารมีธรรมช่วยแผ่พลังจิตอธิษฐาน เพื่อให้พระรอดทุกองค์ที่กดออกจากแบบพิมพ์นั้น ทรงไว้ซึ่งความศักดิ์สิทธิ์ ครูบาสังฆะที่พระอาจารย์อินทร ได้ไปขอความเมตตาจากพระคุณท่าน คือ
1. ครูบาอินตา อินทปัญโญ วัดห้วยไว อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน
2. ครูบาอิ่นแก้ว วัดวาลุการาม (ป่าแงะ)
อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่
3. ครูบาคำตั๋น อารามดอย อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่
4. พระครูวรวุฒิคุณ (ครูบาอินทร) วัดฟ้าหลั่ง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่แล้วได้ฝากแบบพิมพ์ทั้งหมด ไว้กับท่านครูบาอิน อินโทเป็นเวลา5 วัน กับ 5 คืน

http://sanpayangluang.com/?p=149

ตำหนิพระรอดมหาวัน พิมพ์ใหญ่

ตำหนิพระรอดมหาวัน พิมพ์ใหญ่


๑ ไข่ปลาทีปลายโพธิ์แฉก (แต่บางบล็อกไม่ปรากฎส่วนน้อย)
๒ พระเนตรด้านขวาองค์พระมีลักษณะคล้ายกับเม็ดงาดำ
๓ โพธิ์สมมุติมีลักษณะคล้ายพีรามิดหรือคมขวาน (บางพิมพ์ก็ไม่คมแล้วแต่บล็อกพิมพ์)
๔ พระกรรณด้านซ้ายองค์พระเป็นขอเบ็ด
๕ โพธิ์สมมุติมีลักษณะเป็นร่องหรือแอ่ง
๖ พระนาภีร์ เป็นเบ้าคล้ายพิมพ์ขนมครก
๗ ปากตะขาบหรือหัวงู
๘ ในฐานกระดานชั้นที่หนึ่งด้านในจะมีลักษณะเส้นแซมเล็กๆ ปรากฎ
๙ มีเส้นแซมเล็กปรากฎใต้ฐานอาสนชั้นที่หนึ่ง
๑๐ อาสนชั้นที่สามจะไม่คมชัดเท่าฐานที่หนึ่ง
๑๑ โพธิ์ขอเบ็ดด้านบนก้ามโพธิ์จะเป็นรูปขอเบ็ด กลางใบโพธิ์มักเป็นร่องด้านข้างมีคมคล้ายสมอเรือ
๑๒ มีพระอุมาโลมปรากฎที่พระนาสาฎ ในกรณีพิมพ์ที่ชัดเจน โดยเฉพาะพิมพ์เทวดาชัดเจนมาก
๑๓ พระเนตรด้านซ้ายองค์พระจะมีลักษณะคล้ายน้ำตาพระเนตรไหลออกมา
๑๔ พระโอษฐ์ปากจู๋คล้ายปลากัด
๑๕ ข้อพระกรด้านซ้ายองค์พระมีลักษณะคล้ายๆ ตัวยู U หรือตัววีคว่ำ
๑๖ เส้นน้ำตกที่หนึ่งมีลักษณะคล้ายตัว วาย (y) คว่ำ
๑๗ เส้นน้ำตกใต้ฐานที่หนึ่งเป็นสามเส้นติดกัน เส้นที่สามจะหักมุมออกทางขวามือเรา
๑๘ ฐานพระ มีลักษะสองลักษณะคือฐานแบบก้นแมลงสาบ และฐานพับ

ข้อสังเกตุ อื่นๆที่ควรทราบ ในการพิจารณา พระรอดมหาวัน ลำพูน

๑ เนื้อพระอยู่โซนไหน หยาบมาตรฐาน/ละเอียด
๒ ความเก่า คราบกรุ ฝังลึก คราบสนิมไข แคลเซี่ยม ของแต่ละพิมพ์
๓ ตำหนิพระกร ในพระกรแต่ละข้าง เอกลักษณะของแต่ละพิมพ์
๔ การวางพระกร สง่างาม ไม่เหมือนพระถอดพิมพ์
๕ ฟอร์มของโพธิ์เป็นอย่างไร ช่องไฟต่างๆ (space)
๖ ธรรมชาติในผิวของพระรอด พิจารณาตามสิ่งแวดล้อมที่พระรอดบรรจะในหม้อ นอกหม้อ ราดำ ราน้ำตาล แร่ธาตุในดิน 16 ชนิด การกัดเซาะผิวพระรอด




http://phramahawan.blogspot.com/2013/10/blog-post_25.html

พระรอดกรุเก่า คือ

พระรอดกรุเก่า คือ พระรอดที่มีอายุ 1,300 ปี สร้างในสมัยพระนางจามเทวี และพระรอดที่สร้างโดยพระย่าสรรพสิทธิ์ พระรอดกรุเก่าคือพระรอดที่ผ่านการใช้ ผ่านการเสียดสี/รอยสึกจาการใช้ ช่วงของชีวิตคน /ขาดหลักฐานทางธรรมชาติ เช่นคราบกรุดินนวล แยกออกเป็นประเภทดังนี้

1. พระรอดที่ผ่านการใช้ ใน สมัยก่อนนำพระไปใช้มักจะทำถุงเล็กๆพกติดตัว หรือถักด้วยเชือกหรือลวดพระจึงสึกโดยการใช้ เช่น ผิวด้านนอกสึกหายไปยังมีคราบขี้มือจากการสัมผัส คราบสกปรกจากโลกภายนอก

2. การ จงใจ ในกรณีนี้ ภาวะการตลาดเข้ามาแทรก เช่นเซียนชอบพระรอดกรุเก่า ชาวบ้านจึงนิยมนำพระรอดมาทำให้สึกโดยการขัดถูด้วยกระดาษทราย /เจียรด้วยเครื่องมือ การนี้ทำให้สภาพธรรมชาติของพระรอดขาดหายไป เรื่องครากรุ/ดินนวล/คราบแคลเซี่ยม

3. การ ทำให้โครงสร้างพระรอดเปลี่ยนไป เช่นนำพระรอด ที่แต่งผิวเรียบร้อยแล้ว จึงนำไปแช่น้ำยาเคมี หรือน้ำมันเครื่องเพื่อจะให้เนื้อพระรอดหนึกนุ่ม นำพระรรอดไปทำคราบสนิมปลอม ซึ่งของแท้เป็นพระที่อยู่ในหินศิลาแลงซึ่งได้ชี้แจงไปแล้ว  

พระรอดกรุเก่ามี 3 ประเภท ดังนี้

1. ประเภทสวยดูง่ายหมายความว่า พระถูกใช้ถูกสัมผัสจากส่วนของร่ายกายเช่นการถูกเหงื่อไคลแต่ยังคงความเป็น ธรรมชาติให้เห็น เช่นคราบกรุ/ดินนวล/สนิมไขสนิมขาว การใช้จะทำให้ผิวพระจะหนึกนุ่มสวยงามทางภาษาเซียนว่าพระดูง่าย

2. ประเภทแท้แต่ดูยาก หมายความว่าพระรอดที่ถูกใช้งานจนสึกเหลือแต่แก่นสารการนี้ สภาพทางธรรมชาติอาจจะถูกทำลายจนหมดสิ้นเช่นคราบกรุ/ดินนวล/คราบสนิมไข/ทาง ภาษาเซียนเรียกว่าพระดูยากและทางโบราณคดีอีกด้วย

3. ประเภทพระฝีมือ หมายความว่านำพระฝีมือมาตกแต่งผิวเช่นพระ นำมาขัดผิว แช่น้ำยาทางวิทยาศาสตร์ การนี้ก็ไม่ผ่านการพิจารณาจากผู้รู้ที่เคยเห็นของแท้ ที่ทำไม่ได้คือเรื่องโซนเนื้อพระรอด/มวลสาร/คราบธรรมชาติ มีผู้ได้นำพระรอดดังกล่าวมาตรวจเช็คก็ไม่ผ่านทางสถาบันพระเครื่องพระบูชาไทย แต่อยางใด? เพราะทางสถาบันฯได้ทำเวอร์คช๊อป/วิจัยโดยตรงเรื่องพระรอด/พระคงเป็นอย่างดีข้อมูลเปรียบเทียบระหว่างพระรอดกรุใหม่กับพระรอดกรุเก่า


http://phramahawan.blogspot.com/2013/11/blog-post.html

ลักษณะพระรอด วัดมหาวัน ลำพูน

พระรอด วัดมหาวัน ลำพูน ลักษณะ: พระเนื้อดิน เป็นพระพิมพ์ขนาดเล็ก ชื่อพระรอดนั้นมีข้อสันนิษฐาน 3 ทางได้แก่

1. ออกเสียงตามผู้ที่สร้างขึ้น คือ พระฤาษีนารอด ซึ่งออกเสียงตามภาษามอญ
2. ผู้ที่สักการะบูชา และนำติดตัวไปยังที่ต่าง ๆ สามารถรอดพ้นจากอันตรายเป็นอย่างดี จึงเรียกว่าพระรอด
3. เนื่องจากเป็นพระเครื่องที่มีขนาดเล็กกว่าพิมพ์อื่นๆ จึงได้ชื่อว่าพระลอด และเพี้ยนมาเป็นพระรอด

ลักษณะทั่วไปของพระรอด เป็นพระปางมารวิชัย มีฐานอยู่ใต้ที่นั่ง และมีผ้านิสีทนะ (ผ้านั่งปู) รองรับปูไว้บนฐานข้างหลังองค์พระมีลวดลายกระจัง ชาวพื้นเมืองเหนือเรียกกันว่า ใบโพธิ์ เพราะกระจังนั้นดูคล้ายๆใบโพธิ์มีกิ่งก้านไม่อยู่ในเรือนแก้ว พระพักตร์จะปรากฏพระเนตร (ตา) พระกรรณ (หู) ยาวลงมาเกือบจรดพระอังสะ (บ่าหรือไหล่) ทั้งสองข้าง ส่วนด้านหล้งนั้นไม่มีลวดลายอะไรนอกจากรอยนิ้วมือ เป็นเนื้อดินทั้งหมด บางองค์มีลักษณะนูนบ้างแบนบ้าง 
สามารถแบ่งได้ 5 พิมพ์

1. พิมพ์ใหญ่
2. พิมพ์กลาง
3. พิมพ์เล็ก
4. พิมพ์ต้อ
5. พิมพ์ตื้น


นอกจากนี้ยังมีสีสันและวรรณะต่างๆของพระรอด ซึ่งมีอยู่ ๖ สีด้วยกันคือ

1. สีเขียว
2. สีพิกุล (สีเหลือง)
3. สีแดง
4. สีเขียวคราบเหลือง
5. สีเขียวคราบแดง
6. สีเขียวหินครก

สำหรับสีของพระรอด ทั้ง 6 สี นี้เป็นสีของพระรอดทุกพิมพ์ทั้ง 5 พิมพ์จะมีสีสันวรรณะแตกต่างกันไป ตามสีทั้ง 6 และนอกเหนือจากทั้งสี 6 สี นี้พระรอดจะไม่มีสีอื่นๆ ไปโดยเด็ดขาดนอกจากนี้พระรอดทุกพิมพ์ (ทั้ง 5 พิมพ์) พระกรรณ หรือใบหูของพระองค์ จะต้องติดชัดทุกพิมพ์ และฝ่าพระหัตต์ด้านขวา ที่วางคว่ำบนพระชานุ (เข่า)


http://phramahawan.blogspot.com/2013/10/blog-post_24.html

ประวัติ พระรอดมหาวัน ลำพูน

พระรอด เป็นนามที่ผู้สันทัดรุ่นก่อนเชื่อกันว่า เรียกตามนามพระฤาษีผู้สร้างคือ พระฤาษี “นารทะ” หรือพระฤาษี “นารอด” พระรอดคงเรียกตามนามพุทธรูป ศิลา องค์ที่ประดิษฐ์อยู่ในวิหาร วัดมหาวันที่ชาวบ้านเรียกว่า “แม่พระรอด” หรือ พระ “รอดหลวง” ในตำนานว่า คือ พระพุทธ สิขีปฏิมา ที่พระนามจามเทวี อันเชิญมาจากกรุงละโว้ พระนามนี้เรียกกันมาก่อนที่จะพบพระรอดพระพุทธรูปองค์นี้ ที่พื้นผนังมีกลุ่มโพธิ์ใบคล้ายรัศมี ปรากฏด้านข้างทั้งสองด้าน

พระรอด มีการขุดพบครั้งแรกราวต้นรัชกาลที่ 5 แต่ที่สืบทราบมาได้จากการบันทึกไว้ ของท่านอธิการทา เจ้าอาวาสวัดพระคงฤาษีในขณะนั้น และอาจารย์บุญธรรม วัดพระมหาธาตุหริภุญไชย ว่าในปี พ.ศ. 2435 พระเจดีย์วัดมหาวันได้ชำรุดและพังทลายลงบางส่วน ในสมั

ยเจ้าหลวงเหมพินทุไพจิตร ทางวัดได้มีการปฏิสังขรณ์องค์พระเจดีย์ขึ้นใหม่ ในครั้งนั้นได้พบพระรอดภายในกรุเจดีย์มากที่สุด พระรอดมีลักษณะของผนังใบโพธิ์คล้ายพระศิลา ในพระวิหารวัดมหาวัน ผู้พบพระรอด ในครั้งนั้นคงเรียกตามนามพระรอดหลวง แต่นั้นมาก็ได้นำพระรอดส่วนหนึ่งที่พบในครั้งนี้ นำเข้าบรรจุไว้ในองค์พระเจดีย์ตามเดิม อีกประมาณหนึ่งบาตร

พระรอด ขุดค้นพบในปี พ.ศ. 2451 ในครั้งนั้นฐานพระเจดีย์ใหญ่วัดมหาวันชำรุด ทางวัดได้รื้อออกเสียและปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ ได้พบพระรอดที่บรรจุไว้ใน พ.ศ. 2435 ได้นำออกมาทั้งหมด และนำออกแจกจ่ายแก่ข้าราชการและผู้ร่วมงานในขณะนั้น เป็นการพบพระรอดจำนวนมาก พระรอด กรุนี้ถือเป็นพระกรุเก่าและตกทอดมาจนบัดนี้ และทางวัดมหาวันได้จัดพิธีสร้างพระรอดรุ่นใหม่บรรจุไว้แทน เข้าใจว่าคงเป็นรุ่นพี่พระครูบากองแก้วเป็นผู้สร้างไว้เพราะมีบางส่วนนำออกแจกให้ประชาชนในขณะนั้น เรียกว่า พระรอด ครูบากองแก้ว

จากนั้นช่วงเวลาผ่านมาจนถึง ปี พ.ศ. 2498 ได้ขุดพบพระรอดด้านหน้าวัด และใต้ถุนกุฏิพระ ได้พบพระรอดจำนวนเกือบ 300 องค์ มีทุกพิมพ์ทรง กรุนี้ถือว่าเป็นกรุพระรอดกรุใหม่ ที่หมุนเวียนอยู่ในปัจจุบันนี้ถึงปี พ.ศ. 2506 ทางวัดมหาวันได้รื้อพื้นพระอุโบสถ เพื่อปฏิสังขรณ์ใหม่ ได้พบพระรอดครั้งสุดท้ายที่มีจำนวนมากถึง 300 องค์เศษ พระรอดรุ่นนี้มีผู้นำมาให้เช่า ในกรุงเทพจำนวนมาก พระรอดส่วนใหญ่จะคมชัด และงดงามมากเป็นพระรอดกรุใหม่รุ่นสอง หลังจากนั้นต่อมาก็มีผู้ขุดหาพระรอด ในบริเวณลานวัด แทบทุกซอกทุกมุมทั่วพื้นที่ในวัด นานๆ ถึงจะได้พบพระรอดขึ้นมาองค์หนึ่ง เป็นเวลาผ่านมาจนถึงปัจจุบัน จนกระทั่งทางวัด ได้ระงับการขุดพระรอด นอกจากพระรอดแล้ว วัดมหาวัน ยังขุดพบพระเครื่องสกุลลำพูน เกือบทุกพิมพ์ ที่พิเศษคือ ได้พบพระแผ่นดุนทองคำเงิน แบบเทริดขนนกมากที่สุดในลำพูนด้วย

พระรอดได้ขุดค้นพบที่วัดมหาวันเพียงแห่งเดียวเท่านั้นเนื้อดินเผาละเอียดหนักนุ่มมาก องค์พระประทับนั่งขัดเพ็ชรปางมารวิชัยประกอบด้วยพื้นผนังใบโพธิ์ทั้งสองด้าน มีศิลปะโดยรวมแบบทวาราวดี – ศรีวิชัย เป็นรูปแบบเฉพาะของสกุลช่วงสมัยหริภุญไชย ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 17 แบ่งลักษณะ แบบได้ 5 พิมพ์ทรง คือ พิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง พิมพ์เล็ก พิมพ์ต้อ และพิมพ์ตื้นนั้น มีลักษณะจุดตำหนิโดยรวมที่เป็นสัญลักษณ์ปรากฏทุกพิมพ์ ในพิมพ์ใหญ่ กลาง เล็ก

เริ่มจากด้านบนของทั้งสามพิมพ์มีจุดโพธิ์ติ่ง ทั้งสามพิมพ์นี้มี 3 ใบ ปรากฏที่เหนือปลายเกศ และด้านข้างพระเศียร 2 ใบ กลุ่มใบโพธิ์แถวนอกจะใหญ่กว่าแถวใน และโพธิ์คู่ทั้ง 3 พิมพ์นี้มีระดับสูงเกือบเสมอกัน เส้นรอยพิมพ์แตกมีเฉพาะพิมพ์ใหญ่เท่านั้น มีรูปคล้ายตัวหนอนปรากฏเส้นข้างพระกรรณด้านซ้ายขององค์พระ เหนือเข่าด้านซ้ายขององค์พระมีเส้นน้ำตกเป็นเส้นนูนเล็กมาวาดจากใต้ข้อศอกพระรอดใต้ฐานชั้นบน เฉพาะพิมพ์ใหญ่มีฐาน 4 ชั้น พิมพ์กลาง เล็ก ต้อ ตื้น มีฐาน 3 ชั้น พิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง พิมพ์ตื้นมีเนื้อดินยื่นจากใต้ฐานล่างที่สุดเรียกว่า ฐาน 2 ชั้น พิมพ์เล็ก พิมพ์ต้อไม่มี กลุ่มโพธิ์แถวนอกของทุกพิมพ์จะคล้าย ๆ กันเพราะทำมาจากช่างคนเดียวกัน

นอกจากนั้นพิมพ์ต้อกับพิมพ์ตื้นกลับไม่ค่อยมีใบโพธิ์ในพิมพ์ตื้นมีพื้นผนังโพธิ์แถวใน ใบโพธิ์ติดชิดกับองค์พระแล้วลาดเอียงลงที่กลุ่มโพธิ์แถวนอก ตรงแสกหน้ามีรอยพิมพ์แตกเป็นจุดสังเกต ในพิมพ์ต้อไม่ปรากฏโพธิ์แถวใน พื้นผิวติดองค์พระสูงลาดเอียงลงมา ที่กลุ่มโพธิ์แถวนอกเฉพาะตรงปลายเส้น ชี้นูนสูงที่สุดเป็นจุดสำคัญ นอกจากนี้ประการสำคัญที่สุดของพระรอด ที่ของปลอมจะทำเลียนแบบได้ยากคือ การจำรูปแบบพิมพ์ทรง และความเก่าของเนื้อเฉพาะพิมพ์ใหญ่จะปรากฏพระโอษฐ์ (ปาก) เม้มจู๋คล้ายปากปลากัด มีรอยหยักพับที่ริมฝีปากบนชัดเจนมาก เป็นจุดลับที่ควรสังเกตไว้ และกลุ่มโพธิ์แถวนอกของพิมพ์ใหญ่ด้านซ้าย ขององค์พระ มีระดับลาดเอียงเห็นได้ชัดเจนมาก เป็นจุดสังเกตที่ของปลอมจะทำได้ยาก



http://phramahawan.blogspot.com/2013/10/blog-post_6237.html

พระรอดหนองมน จ.ลพบุรี

พระรอดหนองมน "พระรอดวัดหนองมน" จ.ลพบุรี วัดหนองมนเป็นวัดเล็กๆ ตั้งอยู่กลางทุ่ง ในตำบลเขาสมอคอน อำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี เป็นวัดที่ไม่มีความสำคัญใดๆ ทั้งทางด้านประวัติศาสตร์หรือโบราณคดี แต่สิ่งหนึ่งที่ทำให้วัดกลายเป็นที่รู้จักและกล่าวขวัญกันมาตั้งแต่อดีต เรียกว่าเป็นที่ค้นหูของชาวลพบุรีและนักนิยมสะสมพระเครื่องเป็นอย่างดี ก็คือพระเครื่องซึ่งได้รับความนิยมและแสวงหาไม่น้อย หน้าพระกรุเก่าต่างๆ ของจังหวัดลพบุรีทีเดียว มีนามว่า "พระรอดวัดหนองมน" หรือที่เรียกกันว่า "พระรอดหนองมน" เนื่องด้วยปรากฏพุทธคุณเป็นที่ประจักษ์แก่ผู้บูชาว่า เป็นเลิศยิ่งนักในด้านนิรันตราย ทั้งคุ้มครองป้องกันและแคล้วคลาด จนเป็นที่กล่าวกันว่า "แขวนท่านไว้ไม่มีทางตายโหงแน่นอน" ครับผมประวัติพระรอดหนองมน ตามประวัติขององค์พระเมื่อ 100 กว่าปีมาแล้ว พระรอดหนองมนไม่ได้สร้างที่วัดหนองมนจังหวัดลพบุรี แต่เป็นพระพิมพ์ที่หลวงพ่อเมือง พระภิกษุซึ่งเป็นผู้สร้างและบูรณปฏิสังขรณ์วัดหนองมนขึ้นมา ได้นำติดตัวมาจากกรุทางเมืองเหนือ สันนิษฐานกันว่าเป็นเกาะที่อยู่กลางเมืองพิจิตร ท่านเห็นว่ามีจำนวนมากจึงขอมาเพื่อแจกจ่ายแก่พุทธศาสนิกชนที่มีศรัทธาร่วม สร้างพระอุโบสถวัดหนองมนเป็นที่ระลึก ส่วนองค์พระที่เหลือได้ก่อ "พระเจดีย์" ด้านหน้าและด้านหลังพระอุโบสถบรรจุไว้ ชาวบ้านจึงเรียกกันว่า "พระรอดวัดหนองมน"พุทธคุณพระรอดหนองมน เมื่อกาลเวลาผ่านไป มีการเปิดกรุพระเจดีย์เพื่อนำ "พระรอดหนองมน" ออกมาแจกจ่ายแก่ผู้ร่วมบุญร่วมกุศลกับทางวัดหนองมนอีกหลายครั้งหลายคราว จนพระหมดกรุไม่เหลือแม้สักองค์เดียว โดยมีวัตถุประสงค์เพียงเพื่อตอบแทนน้ำใจผู้มีจิตศรัทธาทั้งหลาย แต่ปรากฏว่าปาฏิหาริย์แห่งพุทธคุณได้เกิดขึ้นจนเป็นที่เลื่องลือขจรขจาย ซึ่ง ณ เวลานั้น องค์พระก็หมดจากวัดเสียแล้ว

"พระรอดหนองมน" เป็นพระเนื้อตะกั่วดำ รูปทรงสามเหลี่ยมชะลูดมุมมน แต่การสร้างไม่ค่อยประณีตนัก ทำให้มีเนื้อส่วนเกินยื่นออกมาอย่างไม่สม่ำเสมอเหมือนกันทุกองค์ องค์พระกะทัดรัดพองาม ความกว้างประมาณ 1.2 ซ.ม. และสูงประมาณ 2.2 ซ.ม. เหมาะที่จะอาราธนามาห้อยคอมาก พุทธลักษณะองค์พระประธานประทับนั่ง แสดงปางมารวิชัย เหนืออาสนะฐานหมอนชั้นเดียวค่อนข้างหนา กรอบโดยรอบเป็นร่องคล้ายเส้นซุ้ม แต่ไม่เด่นชัดนัก ลักษณะการสร้างแบบง่ายๆ ไม่มีลวดลายหรือรายละเอียดอื่นประกอบ ส่วนพิมพ์ด้านหลังส่วนใหญ่จะเรียบตัน มีบ้างบางองค์ที่เป็นแอ่งเว้า แต่จำนวนน้อยมาก สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 พิมพ์ คือ พิมพ์ใหญ่ และ พิมพ์เล็ก
พระรอดหนองมน

"พระรอดหนองมน" เป็นพระที่มีอายุเก่าแก่นับ 100 ปี ดังนั้น นอกจากการพิจารณาพิมพ์ทรงแล้ว ต้องพิจารณาถึง "ความเก่าของเนื้อขององค์พระ" นั่นคือ คราบสนิมแดงและสนิมไข หรือบางองค์อาจมีพรายปรอท อันเกิดจากเนื้อขององค์พระที่สร้างโดยตะกั่วเกิดปฏิกิริยากับอากาศโดยรอบใน กรุ ซึ่งนับเป็นหลักการพิจารณาพระแท้-พระเก๊ได้เป็นอย่างดี เนื่องจากเนื้อขององค์พระและพิมพ์ทรงนั้นปลอมแปลงกันได้ง่าย แต่ความเก่าไม่สามารถลอกเลียนแบบได้ และด้วยความที่ได้รับความนิยมสูง ทำให้ "พระรอดหนองมน"
ราคาพระเครื่องมีสนนราคาค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับพระพิมพ์ในรุ่นเดียวกัน การทำเทียมเลียนแบบจึงมีสูงเช่นกัน ต้องพิจารณากันให้ดีครับผม

http://www.tumsrivichai.com/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A1%E0%B8%99.html

ประวัติการสร้าง พระรอด วัดพระสิงห์ จ.เชียงใหม่ พ.ศ.๒๔๙๖

ประวัติการสร้าง พระรอด วัดพระสิงห์ จ.เชียงใหม่ พ.ศ.๒๔๙๖



ในการสร้างพุทธสถานเชียงใหม่ ซึ่งได้กระทำพิธีวางศิลาฤกษ์ ณ บริเวณวัดอุปคุต เชิงสพานเนาวรัตน์ เมื่อวันที่ ๒๘ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๙๖ เวลา ๑๑.๔๕น. ตรง และในเดือนเดี่ยวกันนั้นเอง ตรงกับวันขึ้น ๑๐ ค่ำ เดือน ๗ ปี มะเส็ง จัตวาศก จุลศักราช ๑๓๑๕ วันที่ ๒๓ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๙๖ เริ่ม พิธี ๙.๒๑ น. ๔๑ วินาที และเริ่มจุดเทียนไชย เวลา ๑๙.๒๙ น. พล.ต.อ. เผ่า ศรียานนท์ ประธานกรรมการจัดสร้างพระรอด พร้อม ด้วยคณะกรรมการพุทธสถานก็ได้รวมกันประกอบพิธีมหามงคลสร้างพระรอด ๘๔,๐๐๐ องค์ เพื่อสมทบทุนสร้างพุทธสถานแห่งนี้ 

พระรอดรุ่นเก่าสมัยโบราณหรือที่สร้างก่อนพระรอดรุ่นนี้ ได้เนื้อดินมาจากแห่งหนตำบลใดที่เป็นปัญหาแรกที่ต้องคิดเพราะการสร้างพระรอดนั้นจะต้องทำให้ถูกต้องตามหลักวิชาทางไสยศาสตร์ ข้าพเจ้าจึงได้ไปกราบเรียนหารือกับ พล.ร.ต. หลวงสุวิชาญแพทย์ รน. เจ้ากรมเเพทย์ทหารเรือในปัจจุบัน เพื่อได้ตรวจสอบทางทิพยญาณจักษุ ก็ได้รับทราบว่าพระรอดเกือบทุกรุ่นใช้ดินบริเวณทิศเหนือของวัดพระคงจังหวัดลำพูนแต่การที่จะไปขอดิน ณ บริเวณดังกล่าวแล้วจะต้องตั้งศาลเพียงตาอาราธนาขอจากพระพุทธรูปและเทวดาที่รักษา เมื่อขุดลงไปประมาณ ๓ ศอกก็จะพบดินที่ต้องการ ข้าพเจ้าจึงได้เรียนให้คณะกรรมการพุทธสถานรับทราบและดำเนินการจนได้ดินเพียงพอแก่ความต้องการ ซึ่งดินบริเวณนี้เมื่อได้นำมาสร้างพระรอดแล้ว เนื้อองค์ของพระรอดจะแข็งแกร่ง หาอะไรเปรียบมิได้

ดินทั้งหมดที่ได้มานี้ ข้าพเจ้าได้ให้อาจารย์ผู้ทรงคุณละลายดินด้วยน้ำพระพุทธมนต์พุทธาภิเศก น้ำมนต์พระคาถาแสน น้ำมนต์ ร้อยที่และกลั่นกรองด้วยผ้าขาวสะอาดเอาแต่ผงละเอียดอ่อนซึ่งมีลักษณะเหมือนแป้ง แล้วผสมด้วยผงพระธาตุ ผงพระเบิม ผงพระเลี่ยง ผงพระคง ผงพระรอด ผงพระสมเด็จพุฒาจารย์ ประกอบด้วยผงตรีนิสิงเห ผงปัทมัง ผงพุทธคุณ และผงอิทธิเจของคณาจารย์รุ่นเก่า เช่นหลวงพ่อวัดมะขามเฒ่า หลวงพ่อทองคำวัดหนามแตง และสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ผสมเคล้ากันจนเข้าเป็นเนื้อเดียวกันแล้ว จึงปั้นเป็นก้อนกลมขนาดผลส้ม ส่งดินนี้ไปให้อาจารย์ฉลองเมืองแก้วชึ่งท่านทั้งหลายจะทราบกิติศัพท์ว่าอาจารย์ผู้ที่เสกตะกรุดทองลอยน้ำ เสกข้าวสารเป็นกุ้ง เป็นผู้ทำพิธีใส่ธาตุที่กรุงเทพฯ เสร็จพิธีใส่ธาตุแล้ว นำไปจัดพิมพ์ที่จังหวัดลำพูนด้วยแม่พิมพ์ ๑๑ อันได้พระรอด ๑๑ สีพอดี

เมื่อได้เวลาฤกษ์ พระมหาราชครูวามมุนี กับท่านพราหมณ์ พระครูศิวาจารย์ แห่งกรุงเทพฯพร้อมด้วยคณะเป็นประธานฝ่ายพราหมณ์มหาปัญจพิธีพร้อมด้วยโอมอ่านศิวะเวทย์ อัญเชิญท้าวเทพยะดา ทั้งหลาย ท่านฤาษีผู้ทรงคุณวุฒิ คือ ฤาษีเทว หรือ ฤาษีวาสุเทพ ซึ่งสิงสถิตย์อยู่อุฉุจบรรพตริมแม่น้ำโรหินี (น้ำแม่ขาน) ฤาษี สุขทันตะเขาสามยอดเมืองละโว้ ฤาษีอนุสิษฎ์สถิตย์อยู่หะสิกะวัลลีนคร (ศรีสัชนาลัย) ฤาษีพุทธะชลิต ซึ่งสถิตอยู่ดอยขุหะระบรรพต แม่น้ำสารนัทที (ดอยมา) ฤาษีสุพรหมสถิตอยู่ ณ ดอยงามใกล้แม่น้ำวัง และฤาษีนารอด ซึ่งเป็นองค์ปฐมแรกในการสร้างพระรอดกับอัญเชิญวิญญาณพระนางจามเทวี กษัตริย์ทุกพระองค์ในกรุงสุโขทัย กรุงศรีอยุธยาและกรุงลานนาไทย และกรุงรัตนโกสินทร์ เวลา ๑๙.๒๙ ประกอบพิธีจุดเทียนไชย พระมหาราชครูวามมุนี อ่านโองการชุมนุมเทวดาและสรรเสริญพระรัตนยาธิคุณ เสร็จแล้ว พราหมณ์เป่าสังข์แกว่งปัณเฑาะว์ ครั้นแล้วพระครูวามมุนี อาราธนาพระปริต พระธรรมราชานุวัตร กับคณาจารย์ผู้ทรงคุณวิเศษสวดพระปริต พระสูตรต่างๆ จบแล้วพระคณาจารย์ทั้งหมดนั่งปรกบริกรรมปลุกเศกตลอดคืน พิธีนี้ พล.ร.ต. หลวงสุวิชาแพทย์ รน. ได้มาร่วมในพิธีตลอดเวลา ปรากฏว่าผู้ใดได้พระรอดรุ่นนี้ไปบูชา จะมีโชคชัย ปลอดภัย สวัสดิมงคล และเป็นมหานิยม มหาอำนาจ คงกะพันชาตรี โภคทรัพย์ ซึ่งจะหามิได้ต่อไปอีกแล้ว


http://board.palungjit.org/f15/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87-%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%94-%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B9%8C-%E0%B8%88-%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B9%88-%E0%B8%9E-%E0%B8%A8-%E0%B9%92%E0%B9%94%E0%B9%99%E0%B9%96-256834.html

พระรอดเณรจิ๋ว

ตามประวัติ เป็นพระที่เก่าแก่ สร้างโดย ครูบาทืม สร้างแล้วได้มอบให้กับ ครูบาชุ่ม แล้วครูบาชุ่มได้ขอความเมตตา ครูบาศรีวิชัย เสก ให้เป็นพระรอดที่สร้างในสมัยเดียวกับพระรอดครูบากองแก้วโดยจะนำพระสกุลลำพูน ที่ชำรุดแตกหักมาบดแล้วกดพิมพ์พระชุดนี้ออกมาองค์นี้เนื่อหาดีมาก ที่สำคัญเป็นเนื่อสีเขียวยอดนิยม ผิวเดิมๆ ไม่ผ่านการใช้งานเลย แถมหน้าตามาด้วยครับ ผมก็ได้รับข้อมูล+ทราบประวัติการสร้างและความเป็นมาจากใน www.uamulet.comและะ www.pralanna.com นี้แหละครับ โดยสามารถอ่านประวัติการสร้างได้ที่ กระดานอู้กั๋นม่วนๆ..."ร่วมด้วยจ้วยกั๋นผ่อ"...กระทู้ ที่ 120 ของคุณอา kik-kok (ที่ผมเคารพนับถืออย่างสูง) เมื่อทราบประวัติการสร้างแล้ว นักเล่นพระสายเหนือไม่ควรพลาดในการหามาครอบครองครับมาดูบทความกันครับ ผมเองเป็นคนนำเรื่องพระรอดเณรจิ๋วมาบอกเล่าในเวป Uamulet และต่อมานำมาบอกเล่าในเวป Pralanna ความเป็นมาของพระรอดเณรจิ๋วนี้เท่าที่ผมสนใจไต่ถาม จากคำบอกเล่าของหลวงปู่ครูบาชุ่ม โพธิโก วัดวังมุย และ จากคำบอกเล่าของหลวงปู่ครูบาบุญทืม พรหมเสโน วัดจามเทวี ด้วยตัวของท่านทั้งสองเองเล่าให้ฟังว่า พระชุดนี้ครูบาบุญทืมฯเป็นคนสร้าง สร้างได้ไม่ทราบจำนวนประมาณเต็ม ๑ บาตรพระ แล้วถวายให้ครูบาชุ่มฯซึ่งเป็นศิษย์รุ่นพี่ โดยต่อมาครูบาชุ่มฯได้นำไปขอความเมตตาจากครูบาศรีวิชัยฯเสกให้ เมื่อครูบาศรีวิชัยฯเสกให้แล้ว ครูบาชุ่มท่านก็แจกของท่านไปเรื่อย จนเหลืออยู่จำนวนหนึ่งไม่มากนักประมาณพันสองพันองค์ ต่อมาเมื่อประมาณปี พ.ศ.๒๕๑๘ ครูบาชุ่มฯท่านได้นำออกมาแจกคณะศิษย์สายวัดท่าซุง ผมเองนั่นแหละ ( เวลานั้นอายุประมาณ ๓๐ ปี แต่เวลานี้อายุ ๖๔ ปีแล้ว ) เป็นผู้ถามประวัติพระชุดนี้จากหลวงปู่ครูบาชุ่มฯและหลวงปู่ครูบาบุญทืมฯ เท่าที่เล่ามาข้างต้น โดยต่อมาในยุคนั้นเอง ผมยังได้สอบถามเพิ่มเติมจากพี่บัณฑิตย์ ทองหลิม (นามปากกา ช้าง ราชดำเนิน ขณะนี้อายุประมาณ ๗๐ ปีแล้ว เป็นเซียนพระรุ่นเดอะ เคยเขียนหนังสือเกี่ยวกับพระเครื่องอยู่ในหนังสือพระชื่อ “ ลานโพธิ ”) พี่บัณฑิตย์ฯในขณะนั้นได้ให้ข้อมูลกับผมว่า พระชุดนี้เขาเรียกกันว่า “ พระรอดเณรจิ๋ว ” เพราะเวลานั้นเณรคู่ที่สร้างพระได้ดีและร่วมกันสร้างด้วยกันเสมอ ๆคือ เณรจิ๋ว กับ เณรทืม ( พระรอดครูบากองแก้ว ก็สร้างโดยสามเณรคู่นี้ แต่คนจะรู้จักเณรจิ๋วฯมากกว่าเณรทืมฯ ความเป็นไปต่อมาของเณรจิ๋วฯต่อมาไม่มีใครทราบความเป็นไป แต่สามเณรทืมฯต่อมาก็คือหลวงปู่ครูบาบุญทืม พรหมเสโน หรือชัยเสนภิกขุ สมญานามของท่านที่ครูบาศรีวิชัยฯตั้งให้ แห่งวัดจามเทวีนั่นเอง ) ความผิดของผมก็ มีอยู่ตรงที่ว่า ผมไม่ได้ซักไซ้ให้ละเอียดเท่าที่ควรจะทำ แต่ก็อยากจะแก้ตัวว่า เพราะในเวลานั้นจิตใจของผมแทบจะละทิ้งทางโลกไปเสียทั้งหมดแล้ว แต่เอาละก็ยังดีกว่าท่านอื่น ๆที่ไม่ได้ถามอะไรไว้เลย ยุคสมัย พ.ศ.๒๕๑๘ นะครับ พระเครื่องที่เกี่ยวข้องกับครูบาศรีวิชัยฯที่โด่งดังและมีราคาคือเหรียญแจก ในงานฌาปนกิจศพพระเดชพระคุณตนบุญแห่งล่านนาไทย พ.ศ.๒๔๘๒ เท่านั้น ส่วนอย่างอื่น ๆใด ๆไม่มีราคาหรอกครับ ไม่ว่าจะเป็นพระเกศา หลังย่น ล้วนแจกฟรีทั้งนั้นแหละครับ พระรอดครูบากองแก้วหรือพระรอดน้ำต้นซะอีกยังพอมีราคาครับ(หลักสิบหลักร้อย) และเหรียญที่ว่ามีราคาก็เพราะมีนำเข้าพิธีปลุกเสกหมู่ที่วัดราชบพิธสถิตมหา สีมารามราชวรวิหาร กทมฯ งานพิธีครั้งที่ ๕ โดยมีเกจิอาจารย์ที่ผู้คนนิยมนับถืออยู่ด้วย ๔ รป คือ หลวงพ่อจาด หลวงพ่อจง หลวงพ่อคง และหลวงพ่ออี๋ พูดกันตรงไปตรงมาก็ได้ว่าเหรียญสองชายสามชาย ๒๔๘๒ ผู้คนนิยมเช่าหามีราคาเพราะเป็นรูปตนบุญแห่งล้านนาไทยที่เขาเคารพนับถือใน คุณงามความดีและปลุกเสกโดยคณาจารย์ที่เขาเชื่อว่าเข้มขลังที่พูดกันติดปาก ว่า “ จาด จง คง อี๋ ” นั่นเองครับ.


http://www.taradpra.com/itemDetail.aspx?itemNo=529892&storeNo=465

ประวัติ พระรอด กรุวัดมหาวัน จ.ลำพูน

พระรอด เป็นนามที่ผู้สันทัดรุ่นก่อนเชื่อกันว่า เรียกตามนามพระฤาษีผู้สร้างคือ พระฤาษี “นารทะ” หรือพระฤาษี “นารอด” พระรอดคงเรียกตามนามพุทธรูป ศิลา องค์ที่ประดิษฐ์อยู่ในวิหาร วัดมหาวันที่ชาวบ้านเรียกว่า “แม่พระรอด” หรือ พระ “รอดหลวง” ในตำนานว่า คือ พระพุทธ สิขีปฏิมา ที่พระนามจามเทวี อันเชิญมาจากกรุงละโว้ พระนามนี้เรียกกันมาก่อนที่จะพบพระรอดพระพุทธรูปองค์นี้ ที่พื้นผนังมีกลุ่มโพธิ์ใบคล้ายรัศมี ปรากฏด้านข้างทั้งสองด้าน
     
         พระรอด มีการขุดพบครั้งแรกราวต้นรัชกาลที่ 5 แต่ที่สืบทราบมาได้จากการบันทึกไว้ ของท่านอธิการทา เจ้าอาวาสวัดพระคงฤาษีในขณะนั้น และอาจารย์บุญธรรม วัดพระมหาธาตุหริภุญไชย ว่าในปี พ.ศ. 2435 พระเจดีย์วัดมหาวันได้ชำรุดและพังทลายลงบางส่วน ในสมัยเจ้าหลวงเหมพินทุไพจิตร ทางวัดได้มีการปฏิสังขรณ์องค์พระเจดีย์ขึ้นใหม่ ในครั้งนั้นได้พบพระรอดภายในกรุเจดีย์มากที่สุด พระรอดมีลักษณะของผนังใบโพธิ์คล้ายพระศิลา ในพระวิหารวัดมหาวัน ผู้พบพระรอด ในครั้งนั้นคงเรียกตามนามพระรอดหลวง แต่นั้นมาก็ได้นำพระรอดส่วนหนึ่งที่พบในครั้งนี้ นำเข้าบรรจุไว้ในองค์พระเจดีย์ตามเดิม อีกประมาณหนึ่งบาตร
     
         พระรอด ขุดค้นพบในปี พ.ศ. 2451 ในครั้งนั้นฐานพระเจดีย์ใหญ่วัดมหาวันชำรุด ทางวัดได้รื้อออกเสียและปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ ได้พบพระรอดที่บรรจุไว้ใน พ.ศ. 2435 ได้นำออกมาทั้งหมด และนำออกแจกจ่ายแก่ข้าราชการและผู้ร่วมงานในขณะนั้น เป็นการพบพระรอดจำนวนมาก พระรอด กรุนี้ถือเป็นพระกรุเก่าและตกทอดมาจนบัดนี้ และทางวัดมหาวันได้จัดพิธีสร้างพระรอดรุ่นใหม่บรรจุไว้แทน เข้าใจว่าคงเป็นรุ่นพี่พระครูบากองแก้วเป็นผู้สร้างไว้เพราะมีบางส่วนนำออกแจกให้ประชาชนในขณะนั้น เรียกว่า พระรอด ครูบากองแก้ว
     
         จากนั้นช่วงเวลาผ่านมาจนถึง ปี พ.ศ. 2498 ได้ขุดพบพระรอดด้านหน้าวัด และใต้ถุนกุฏิพระ ได้พบพระรอดจำนวนเกือบ 300 องค์ มีทุกพิมพ์ทรง กรุนี้ถือว่าเป็นกรุพระรอดกรุใหม่ ที่หมุนเวียนอยู่ในปัจจุบันนี้ถึงปี พ.ศ. 2506 ทางวัดมหาวันได้รื้อพื้นพระอุโบสถ เพื่อปฏิสังขรณ์ใหม่ ได้พบพระรอดครั้งสุดท้ายที่มีจำนวนมากถึง 300 องค์เศษ พระรอดรุ่นนี้มีผู้นำมาให้เช่า ในกรุงเทพจำนวนมาก พระรอดส่วนใหญ่จะคมชัด และงดงามมากเป็นพระรอดกรุใหม่รุ่นสอง หลังจากนั้นต่อมาก็มีผู้ขุดหาพระรอด ในบริเวณลานวัด แทบทุกซอกทุกมุมทั่วพื้นที่ในวัด นานๆ ถึงจะได้พบพระรอดขึ้นมาองค์หนึ่ง เป็นเวลาผ่านมาจนถึงปัจจุบัน จนกระทั่งทางวัด ได้ระงับการขุดพระรอด นอกจากพระรอดแล้ว วัดมหาวัน ยังขุดพบพระเครื่องสกุลลำพูน เกือบทุกพิมพ์ ที่พิเศษคือ ได้พบพระแผ่นดุนทองคำเงิน แบบเทริดขนนกมากที่สุดในลำพูนด้วย
     
         พระรอดได้ขุดค้นพบที่วัดมหาวันเพียงแห่งเดียวเท่านั้นเนื้อดินเผาละเอียดหนักนุ่มมาก องค์พระประทับนั่งขัดเพ็ชรปางมารวิชัยประกอบด้วยพื้นผนังใบโพธิ์ทั้งสองด้าน มีศิลปะโดยรวมแบบทวาราวดี – ศรีวิชัย เป็นรูปแบบเฉพาะของสกุลช่วงสมัยหริภุญไชย ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 17 แบ่งลักษณะ แบบได้ 5 พิมพ์ทรง คือ พิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง พิมพ์เล็ก พิมพ์ต้อ และพิมพ์ตื้นนั้น มีลักษณะจุดตำหนิโดยรวมที่เป็นสัญลักษณ์ปรากฏทุกพิมพ์ ในพิมพ์ใหญ่ กลาง เล็ก
         เริ่มจากด้านบนของทั้งสามพิมพ์มีจุดโพธิ์ติ่ง ทั้งสามพิมพ์นี้มี 3 ใบ ปรากฏที่เหนือปลายเกศ และด้านข้างพระเศียร 2 ใบ กลุ่มใบโพธิ์แถวนอกจะใหญ่กว่าแถวใน และโพธิ์คู่ทั้ง 3 พิมพ์นี้มีระดับสูงเกือบเสมอกัน เส้นรอยพิมพ์แตกมีเฉพาะพิมพ์ใหญ่เท่านั้น มีรูปคล้ายตัวหนอนปรากฏเส้นข้างพระกรรณด้านซ้ายขององค์พระ เหนือเข่าด้านซ้ายขององค์พระมีเส้นน้ำตกเป็นเส้นนูนเล็กมาวาดจากใต้ข้อศอกพระรอดใต้ฐานชั้นบน เฉพาะพิมพ์ใหญ่มีฐาน 4 ชั้น พิมพ์กลาง เล็ก ต้อ ตื้น มีฐาน 3 ชั้น พิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง พิมพ์ตื้นมีเนื้อดินยื่นจากใต้ฐานล่างที่สุดเรียกว่า ฐาน 2 ชั้น พิมพ์เล็ก พิมพ์ต้อไม่มี กลุ่มโพธิ์แถวนอกของทุกพิมพ์จะคล้าย ๆ กันเพราะทำมาจากช่างคนเดียวกัน
         นอกจากนั้นพิมพ์ต้อกับพิมพ์ตื้นกลับไม่ค่อยมีใบโพธิ์ในพิมพ์ตื้นมีพื้นผนังโพธิ์แถวใน ใบโพธิ์ติดชิดกับองค์พระแล้วลาดเอียงลงที่กลุ่มโพธิ์แถวนอก ตรงแสกหน้ามีรอยพิมพ์แตกเป็นจุดสังเกต ในพิมพ์ต้อไม่ปรากฏโพธิ์แถวใน พื้นผิวติดองค์พระสูงลาดเอียงลงมา ที่กลุ่มโพธิ์แถวนอกเฉพาะตรงปลายเส้น ชี้นูนสูงที่สุดเป็นจุดสำคัญ นอกจากนี้ประการสำคัญที่สุดของพระรอด ที่ของปลอมจะทำเลียนแบบได้ยากคือ การจำรูปแบบพิมพ์ทรง และความเก่าของเนื้อเฉพาะพิมพ์ใหญ่จะปรากฏพระโอษฐ์ (ปาก) เม้มจู๋คล้ายปากปลากัด มีรอยหยักพับที่ริมฝีปากบนชัดเจนมาก เป็นจุดลับที่ควรสังเกตไว้ และกลุ่มโพธิ์แถวนอกของพิมพ์ใหญ่ด้านซ้าย ขององค์พระ มีระดับลาดเอียงเห็นได้ชัดเจนมาก เป็นจุดสังเกตที่ของปลอมจะทำได้ยาก
พระรอด วัดมหาวัน ลำพูน ลักษณะ: พระเนื้อดิน เป็นพระพิมพ์ขนาดเล็ก ชื่อพระรอดนั้นมีข้อสันนิษฐาน 3 ทางได้แก่
         1. ออกเสียงตามผู้ที่สร้างขึ้น คือ พระฤาษีนารอด ซึ่งออกเสียงตามภาษามอญ
         2. ผู้ที่สักการะบูชา และนำติดตัวไปยังที่ต่าง ๆ สามารถรอดพ้นจากอันตรายเป็นอย่างดี จึงเรียกว่าพระรอด         3. เนื่องจากเป็นพระเครื่องที่มีขนาดเล็กกว่าพิมพ์อื่นๆ จึงได้ชื่อว่าพระลอด และเพี้ยนมาเป็นพระรอด
         ลักษณะทั่วไปของพระรอด เป็นพระปางมารวิชัย มีฐานอยู่ใต้ที่นั่ง และมีผ้านิสีทนะ (ผ้านั่งปู) รองรับปูไว้บนฐานข้างหลังองค์พระมีลวดลายกระจัง ชาวพื้นเมืองเหนือเรียกกันว่า ใบโพธิ์ เพราะกระจังนั้นดูคล้ายๆใบโพธิ์มีกิ่งก้านไม่อยู่ในเรือนแก้ว พระพักตร์จะปรากฏพระเนตร (ตา) พระกรรณ (หู) ยาวลงมาเกือบจรดพระอังสะ (บ่าหรือไหล่) ทั้งสองข้าง ส่วนด้านหล้งนั้นไม่มีลวดลายอะไรนอกจากรอยนิ้วมือ เป็นเนื้อดินทั้งหมด บางองค์มีลักษณะนูนบ้างแบนบ้าง 
สามารถแบ่งได้ 5 พิมพ์
         1. พิมพ์ใหญ่
         2. พิมพ์กลาง
         3. พิมพ์เล็ก
         4. พิมพ์ต้อ
         5. พิมพ์ตื้น

นอกจากนี้ยังมีสีสันและวรรณะต่างๆของพระรอด ซึ่งมีอยู่ ๖ สีด้วยกันคือ
         1. สีเขียว
         2. สีพิกุล (สีเหลือง)
         3. สีแดง
         4. สีเขียวคราบเหลือง
         5. สีเขียวคราบแดง
         6. สีเขียวหินครก
         สำหรับสีของพระรอด ทั้ง 6 สี นี้เป็นสีของพระรอดทุกพิมพ์ทั้ง 5 พิมพ์จะมีสีสันวรรณะแตกต่างกันไป ตามสีทั้ง 6 และนอกเหนือจากทั้งสี 6 สี นี้พระรอดจะไม่มีสีอื่นๆ ไปโดยเด็ดขาดนอกจากนี้พระรอดทุกพิมพ์ (ทั้ง 5 พิมพ์) พระกรรณ หรือใบหูของพระองค์ จะต้องติดชัดทุกพิมพ์ และฝ่าพระหัตต์ด้านขวา ที่วางคว่ำบนพระชานุ (เข่า) ด้านขวาจะต้องมี 6 พิมพ์ และทุกองค์ โดยเฉพาะองค์ที่มีความคมชัดจะเห็นได้ชัดเจน
พระรอดวัดมหาวัน พิมพ์ใหญ่ 
     
         พระรอดพิมพ์นี้ต้องเรียกว่าพิมพ์ใหญ่ ก็เพราะว่า ลักษณะขององค์พระจะมีฐาน 4 ชั้น ซึ่งมีมากกว่าพระรอดพิมพ์อื่นๆ (ที่มีเพียง 3 ชั้นเท่านั้น) ดั้งนั้นถ้าพระรอดมีฐาน 4 ชั้นก็จะต้องเป็นพระรอดพิมพ์ใหญ่เท่านั้น ซึ่งฐาน 4 ชั้น ของพระรอดพิมพ์ใหญ่จะต้องปประกอบด้วย ฐานชั้นที่ 1, ชั้นที่ 2, ชั้นที่ 3, และชั้นที่ 4 โดยฐานชั้นที่ 3 และชั้นที 4 จะติดกัน ส่วนด้านล่างสุด เป็นเนื้อเกินที่ล้นพิมพ์ และจะกดพับขึ้นมาชนกับฐานชั้นที่ 4 นอกจากนี้ยังมีแอกลักษณ์ ที่เป็นพระพิมพ์ใหญ่อีก ซึ่งจะได้กล่าวต่อไป และจะได้พิจารณาถึงเอกลักษณ์ที่เป็นพิมพ์ใหญ่ ซึ่งเป็นหลักในการพิจารณาพิมพ์ของพระรอดพิมพ์ใหญ่

ตำหนิเอกลักษณ์ การสังเกตุพระรอด
         1.พระเกศ และพระเมาลีคล้ายฝาชี
         2.พระพักตร์สอบเสี้ยม องค์ติดชัดๆพระเนตรโปนโต พระนาสิกสั้นโต พระโอษฐ์เจ่อ
         3.มีเส้นแตกพาดเฉียงจากพระเนตร มาชนใบโพธิ์
         4.ปลายพระกรรณ ซ้ายมือองค์พระ จะแหลมเป็นตัววี
         5.พระพิมพ์ใหญ่โดยมากจะมีขอบปีกพระ
         6.นิ้วหัวแม่มือขวา องค์พระจะขาด ส่วนปลายนิ้ว 4 นิ้วที่เหลือมักติดชัด
         7.แขนซ้ายองค์พระแบ่งเป็น 3 ส่วน ส่วนกลางมักเห็นเป็นกล้าม
         8.เส้นน้ำตกใต้แขนซ้ายองค์พระ มาโผล่ที่ใต้เข่าอีกจุด และในร่องใต้ฐานอาสนะชั้นบนสุด อาจมีเส้นน้ำตกแผ่วๆ ในแนวเดียวกัน 
         9.ร่องใต้ฐานอาสนะชั้นบนสุดจะมีเส้นแซมบางๆหนึ่งเส้น
        10.ฐานอาสนะชั้นล่างสุด มี 3 ชั้น ชั้น 2 และ 3 บางทีติดกันโดยมีร่องตื้นๆ คั่นกลาง 
        11.ก้นฐานพระมีรอยบี้และมีรอยนิ้วมือติดอยู่ เกิดจากตอนดันพระออกจากพิมพ์ เป็นแบบนี้ทุกองค์
        12. ต้นแขนขวาองค์พระค่อกเล็กน้อย คล้ายพระคง แต่อาการน้อยกว่า
        13. พระพิมพ์ใหญ่ ส่วนใหญ่จะเห็นปลายพระบาทซ้ายองค์พระคล้ายหัวงูมีร่องปากเล็กๆ ปรากฏ
พุทธคุณ: พระอานุภาพของพระรอด มีความเชื่อกันว่า พระรอด มีความศักดิ์สิทธิ์ หรือความขลังในด้านแคล้วคลาด ปราศจากภัยอันตราย และความวิบัติต่างๆ มีเสน่ห์เมตตามหานิยม ได้ลาภผล และคงกระพันชาตรี
ที่มา : หนังสือวัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์ และภูมิปัญญา จังหวัดลำพูน พ.ศ.2544


http://www.itti-patihan.com/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4-%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%94-%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99-%E0%B8%88.%E0%B8%A5%E0%B8%B3%E0%B8%9E%E0%B8%B9%E0%B8%99.html