พระรอดกรุเก่า คือ พระรอดที่มีอายุ 1,300 ปี สร้างในสมัยพระนางจามเทวี และพระรอดที่สร้างโดยพระย่าสรรพสิทธิ์ พระรอดกรุเก่าคือพระรอดที่ผ่านการใช้ ผ่านการเสียดสี/รอยสึกจาการใช้ ช่วงของชีวิตคน /ขาดหลักฐานทางธรรมชาติ เช่นคราบกรุดินนวล แยกออกเป็นประเภทดังนี้
1. พระรอดที่ผ่านการใช้ ใน สมัยก่อนนำพระไปใช้มักจะทำถุงเล็กๆพกติดตัว หรือถักด้วยเชือกหรือลวดพระจึงสึกโดยการใช้ เช่น ผิวด้านนอกสึกหายไปยังมีคราบขี้มือจากการสัมผัส คราบสกปรกจากโลกภายนอก
2. การ จงใจ ในกรณีนี้ ภาวะการตลาดเข้ามาแทรก เช่นเซียนชอบพระรอดกรุเก่า ชาวบ้านจึงนิยมนำพระรอดมาทำให้สึกโดยการขัดถูด้วยกระดาษทราย /เจียรด้วยเครื่องมือ การนี้ทำให้สภาพธรรมชาติของพระรอดขาดหายไป เรื่องครากรุ/ดินนวล/คราบแคลเซี่ยม
3. การ ทำให้โครงสร้างพระรอดเปลี่ยนไป เช่นนำพระรอด ที่แต่งผิวเรียบร้อยแล้ว จึงนำไปแช่น้ำยาเคมี หรือน้ำมันเครื่องเพื่อจะให้เนื้อพระรอดหนึกนุ่ม นำพระรรอดไปทำคราบสนิมปลอม ซึ่งของแท้เป็นพระที่อยู่ในหินศิลาแลงซึ่งได้ชี้แจงไปแล้ว
พระรอดกรุเก่ามี 3 ประเภท ดังนี้
1. ประเภทสวยดูง่ายหมายความว่า พระถูกใช้ถูกสัมผัสจากส่วนของร่ายกายเช่นการถูกเหงื่อไคลแต่ยังคงความเป็น ธรรมชาติให้เห็น เช่นคราบกรุ/ดินนวล/สนิมไขสนิมขาว การใช้จะทำให้ผิวพระจะหนึกนุ่มสวยงามทางภาษาเซียนว่าพระดูง่าย
2. ประเภทแท้แต่ดูยาก หมายความว่าพระรอดที่ถูกใช้งานจนสึกเหลือแต่แก่นสารการนี้ สภาพทางธรรมชาติอาจจะถูกทำลายจนหมดสิ้นเช่นคราบกรุ/ดินนวล/คราบสนิมไข/ทาง ภาษาเซียนเรียกว่าพระดูยากและทางโบราณคดีอีกด้วย
3. ประเภทพระฝีมือ หมายความว่านำพระฝีมือมาตกแต่งผิวเช่นพระ นำมาขัดผิว แช่น้ำยาทางวิทยาศาสตร์ การนี้ก็ไม่ผ่านการพิจารณาจากผู้รู้ที่เคยเห็นของแท้ ที่ทำไม่ได้คือเรื่องโซนเนื้อพระรอด/มวลสาร/คราบธรรมชาติ มีผู้ได้นำพระรอดดังกล่าวมาตรวจเช็คก็ไม่ผ่านทางสถาบันพระเครื่องพระบูชาไทย แต่อยางใด? เพราะทางสถาบันฯได้ทำเวอร์คช๊อป/วิจัยโดยตรงเรื่องพระรอด/พระคงเป็นอย่างดีข้อมูลเปรียบเทียบระหว่างพระรอดกรุใหม่กับพระรอดกรุเก่า
http://phramahawan.blogspot.com/2013/11/blog-post.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น