วันอาทิตย์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

พระรอดมหาวัน "เก๊สูงสุด" ได้แค่ไหน

ก่อนที่ผมจะมีวาสนาได้พบพานกับพระรอดมหาวันที่เป็นพระกรุแท้ๆ อายุ ๑๓๐๐ ปี
ผมต้องบำเพ็ญเพียรภาวนา ทำทาน โดยการซื้อพระเก๊ จำนวนหลายร้อยองค์ ราคาตั้งแต่หลักร้อยถึงหลักหมื่น
มีตั้งแต่แบกะดิน เลี่ยมทอง จนถึงรังใหญ่ เก๊ทั้งนั้น
เมื่อได้พระรอดระดับที่มั่นใจว่าแท้ ก็เริ่มหาเกณฑ์ในการกลั่นกรองระดับของความเก๊
โดยการกำหนดหลักการว่า พระรอดแท้ๆนั้น มีวิธีการสร้าง และวัสดุที่ใช้สร้างมาอย่างไร
พยายามอ่านตำรา ส่องพระองค์แท้ๆ สิบกว่าองค์ที่มี ถามผู้รู้ในท้องถิ่น และสำรวจแหล่งวัสดุที่เกี่ยวข้อง มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
ก็ได้ข้อสรุปว่า
พระรอดนั้น หลักๆ ใช้หินอัคนีสีเขียว จำพวก แอนดีไซท์ (Andesite) บดละเอียด เป็นมวลสารหลัก เชื่อมประสานด้วยดินเหนียวกรอง และน่าจะมีมวลสารอื่นๆอีกหลายชนิดเป็นผงพุทธคุณ
กดพิมพ์ ปล่อยให้แห้ง แล้วเผาที่ความร้อนสูงมากจนหินละลายเชื่อมเป็นดินเผาแกร่งสีเขียว ทนทานต่อการผุพัง
มีบางองค์ที่โดนความร้อนไม่จัดมาก ที่เนื้อยังออกดำข้างในมากบ้างน้อยบ้าง จะไม่แกร่งมาก และเริ่มผุพังเป็นสนิมแดงของเหล็ก หนาบ้างบางบ้าง
องค์ที่โดนไฟอ่อนที่สุด เนื้อจะเป็นสีดำ ผุพังได้ง่ายที่สุด ที่บางองค์ออกสนิมแดงที่ผิวประปราย
พระรอดแท้ ผิวจะเหี่ยว คราบอยูเป็นที่เป็นทาง มีหินสีแดงในเนื้อที่กร่อน
 
สำหรับองค์ที่เรียกกันว่าพระรอดขาวนั้น ผมกำลังหาอยู่ คาดว่าจะได้อีกไม่กี่วันข้างหน้า แล้วจะนำมาเพิ่มเติมข้อมูลให้อีก ว่าน่าจะเป็นอย่างไร
ถ้าเป็นจริงนะครับ
พระรอดขาวน่าจะมาจากดินเหนียวขาว หรือ ดินขาว (Kaolinite) และใช้หินอัคนีสีจางจนออกขาวเป็นหินอัคนีสำคัญ เช่น ไดโอไรท์ (Diorite) เมื่อเผามาแล้วจะทำให้เป็นสีขาวแกร่ง แบบหินอัคนีสีขาว
ลักษณะของพระรอดมหาวันที่ปรากฏต่อสายตาคนทั่วไปนี้ หารอดจากสายตาช่างทำพระเก๊ไม่
เขาได้ทำพระรอดเก๊ออกมาหลากกลายระดับมาก ตั้งแต่
  • พิมพ์เพี้ยน เนื้อห่างไกล
  • พิมพ์ใกล้เคียง เนื้อยังไกล
  • พิมพ์เพี้ยน เนื้อใกล้เคียง
  • พิมพ์ใกล้เคียง เนื้อใกล้เคียง จนกระทั่ง
  • พิมพ์ใกล้เคียง เนื้อดูดี คราบสวย
ที่ทำให้ผมได้ไต่ระดับมาเรื่อยๆ จนถึงวันนี้
ไม่ทราบว่าจะต้องไต่ต่อไปอีกไหมนะครับ
การทำพระรอดให้คล้ายกับกรุมหาวันนั้น สูงสุดของฝีมือและความพยายามที่ควรแก่การยกย่อง ก็คือ
ช่างเขาใช้วัสดุ
  • เรซิน หรือสารประเภทสังเคราะห์ อัด ๒ ชั้น
  • ชั้นในสีเขียว ออกเทาดำ (เลียนแบบพระรอดอ่อนไฟ)
    • ชั้นนอกแดง เลียนแบบสนิมเหล็กแบบหินผุ
    • ชั้นในเขียวออกดำ เลียนแบบพระรอดอ่อนไฟ
  • อบความร้อนพอขึ้นหมัดไฟ เม็ดสีดำๆ
  • แล้วแต่งผิวด้วยการฝังดินให้ขี้ฝุ่นเกาะ ให้ดูเหมือนคราบยุ่ย
แต่จุดที่ยังไม่เนียนก็คือ
พระรอดเก๊ ผิวจะตึง มีคราบไม่เป็นระบบเนื่องจากการโปะ
  • ผิวตึง ออกมัน
  • คราบดินเอามือลูบออกได้ แล้วเห็นผิวแท้ทันที
  • คราบอยู่ไม่เป็นที่ กระจายอยู่ทั่วไป
  • สีคราบไม่ถูกต้องตามลักษณะสนิมเหล็กจากหินผุ(ข้อนี้ต้องดูเทียบกับผิวหินผุ จึงจะเข้าใจ) แต่เป็นแค่เศษดินเกาะผิวเรซิน ถ้าล้างจะออกหมดทันที
  • ตำหนิ และพิมพ์เพี้ยนเกือบทุกจุด  ข้อนี้ต้องอาศัยความจำมาก ไม่เหมาะกับมือใหม่หัดส่อง
นอกจากเก๊ระดับดีเยี่ยมแล้ว ก็ยังมีเก๊ระดับรองลงมาอีกหลายระดับ
เช่น
  • รซินอัด อบไอร้อนไม่แต่งผิว หรือ
  • ดินเผาใหม่ๆแต่งผิวด้วยสารเคมี หรือ
  • เรซินอัด ไม่เผา แต่งผิว หรือ
  • เรซินอัด อบ แต่งผิวด้วยสารเคมี
ที่จะดูง่ายกว่ามาก เพราะ
  • ผิวจะผิดไปจาก ผิวหินผุ ตีเก๊ได้เลย
  • พิมพ์อาจจะแต่งได้ดีมาก แต่มักจะมีจุดเพี้ยนเสมอ ข้อนี้ต้องอาศัยประสบการณ์สูง ที่จะขอข้ามไปก่อน
จึงขอให้ดูเนื้อเป็นหลักก่อน ถ้าเนื้อผิดแล้ว พิมพ์ถูก 100%ยังไม่เคยเห็น
แต่ถ้าใครถนัดดูพิมพ์ก่อนก็ไม่เป็นไรครับ
ในที่สุดก็ไปจบที่เดียวกัน
พระแท้ไม่มีทางเก๊ และพระเก๊ก็ไม่มีทางแท้ ครับ


http://www.gotoknow.org/posts/495163

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น