เนื้อหาของพระรอดพิมพ์นี้ก็เป็นเช่นเดียวกับพระรอดพิมพ์ใหญ่และพิมพ์กลางจะมีแตกต่างกันก็เพียงแต่จุดลับ สัญลักษณ์และพิมพ์ทรงเท่านั้น ลักษณะพิเศษของพระรอดพิมพ์เล็กมีดังนี้คือ
- ฐานประทับมี 3 ชั้น
- ฐานชั้นบนจะดูหนากว่าฐานชั้นอื่น ๆ
- ตรงก้นพระจะถูกตัดช่วงฐานล่างสุดพอดี
- ใบหูข้างซ้ายจะเห็นชัดกว่าใบหูขวา จะมีติ่งติดอยู่กับปลายเศียรข้างซ้ายด้านบน และกลางหูซ้ายจมีโพธิ์ติ่งเป็นเม็ดมองเห็นอย่างชัดเจน
- ใต้คางซ้ายจะมีเส้นเรียกว่า เอ็นคอเป็นเส้นเล็ก ๆ โค้งลงมาจรดกับบ่าซ้าย
- มีเส้นนูนเล็กใต้ข้อศอกซ้าย ใต้ข้อมือและตรงส้นเท้าซ้ายที่ละ 1 เส้น
- ฐานล่างสุดจะถูกกดย่นเป็นรูปสามเหลี่ยมทั้งสองข้าง หน้าแข้งของเท้าซ้ายที่ขัดสมาธิจะแตกออกเป็นแฉก ๆ 3 แฉก มีเส้นผ้าปูเล็ก ๆ เท่าเส้นผมวางเป็นแนวนอน
- สะดือจะเป็นเบ้าขนมครก
- หัวแม่มือขวาจะกางออกและถูกตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า
- ฐานประทับมี 3 ชั้น
- ฐานชั้นบนจะดูหนากว่าฐานชั้นอื่น ๆ
- ตรงก้นพระจะถูกตัดช่วงฐานล่างสุดพอดี
- ใบหูข้างซ้ายจะเห็นชัดกว่าใบหูขวา จะมีติ่งติดอยู่กับปลายเศียรข้างซ้ายด้านบน และกลางหูซ้ายจมีโพธิ์ติ่งเป็นเม็ดมองเห็นอย่างชัดเจน
- ใต้คางซ้ายจะมีเส้นเรียกว่า เอ็นคอเป็นเส้นเล็ก ๆ โค้งลงมาจรดกับบ่าซ้าย
- มีเส้นนูนเล็กใต้ข้อศอกซ้าย ใต้ข้อมือและตรงส้นเท้าซ้ายที่ละ 1 เส้น
- ฐานล่างสุดจะถูกกดย่นเป็นรูปสามเหลี่ยมทั้งสองข้าง หน้าแข้งของเท้าซ้ายที่ขัดสมาธิจะแตกออกเป็นแฉก ๆ 3 แฉก มีเส้นผ้าปูเล็ก ๆ เท่าเส้นผมวางเป็นแนวนอน
- สะดือจะเป็นเบ้าขนมครก
- หัวแม่มือขวาจะกางออกและถูกตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า
ทั้งหมดนี้คือจุดลับและสัญลักษณ์โดยรวมของพระรอดพิมพ์เล็ก
http://www.naiboran.com/amulet_index2.php?cate=1&sub_cate=3
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น