วันอาทิตย์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ในการวิเคราะบวกกับศึกษาเนื้อหามวลสารการสร้างพระรอด

ในการวิเคราะบวกกับศึกษาเนื้อหามวลสารการสร้างพระรอด ที่ผมมีเนื้อแกร่งมากๆเหมือนหินเลย คราบกรุสนิมออกจากองค์พระเหมือนเม็ดแร่ เนื้อแห้งย่นเหมือนหนังช้างหรือหนังกระเบน ที่เขาชอบตีเป็นกรุอุโมงค๋เพราะต้องการซื้อจากเราราคาถูกลง อันที่จริงก็คือพระรอดยุคเดียวกันหมดครับ ผมก็ศึกษาพระรอดมาพอสมควร ลองคิดแบบตรรกวิทยาและวิทยาศาสตร์ดูนะครับ จะได้เก็บไปคิดวิเคราะห์ พิจารณาพระเวลาเจอพระรอด
1.พระรอดเป็นพระเนื้อดินผสมแร่วิเศษต่างๆมากมาย เมื่อเผาและฝังไว้ในดินนับพันปี จะต้องแกร่งจนเป็นหินหรือเกือบเป็นหิน ลองนึกถึงฟอสซิลดูครับ ฝังอยู่เป็นล้านปีกลายเป็นหินแต่นั่นกลายเป็นหินแบบธรรมชาติ แต่พระรอดมนุษย์สร้างขึ้น เผาโดยการใช้ความร้อนสูงก็อาจจะย่นระยะเวลาได้ระดับหนึ่ง ถ้าเนื้อพระรอดไม่แกร่งเหมือนหินอยู่ในดินนับพันปีคงละลายกลายเป็นเนื้อดินไปหมดแล้วครับ   
2.ตามตำนานการสร้างพระรอด และการวิเคราะห์มวลสารของพระรอด เนื้อพระรอดประกอบด้วยมวลสารประมาณ 18 ชนิด เช่น โพรงเหล็กไหล แร่เหล็กน้ำพี้ แร่เหล็กไหล ศาตราวุธเก่า ว่าน เนื้อดินบริสุทธิฯลฯ เอามาผสมกันแล้วเผาลองคิดดูครับ ฝังในดินนับพันปี จะต้องมีคราบกรุสนิมออกมาจากเนื้อพระแน่นอน ไม่มีแร่เหล็กที่ไหนที่ไม่ขึ้นสนิมหรอกครับ 
3.พระรอดผ่านการเผาด้วยความร้อนเนื้อพระจะต้องแห้งและย่นเนื่องจากเนื้อดินคายความร้อนและหดตัวลง ทำให้ผิวเนื้อพระแห้งคล้ายๆหนังช้างหรือหนังกระเบน ไม่มีพระเยาที่ไหนที่ผิวพระไม่แห้งหรอกครับ
4.ลองนึกย้อนไปถึง 1300 ปีที่แล้ว ว่าพิธีการสร้างพระของพระมหากษัตริย์ จะต้องไม่สร้างน้อยๆอย่างแน่นอน เขาต้องสร้างแบบพิธีหลวง อย่างน้อยๆ 84000 องค์หรือมากกว่านั้นแน่นอน เพราะเขาไม่ได้หวังพุทธพาณิชย์ เขาหวังสืบทอดพระพุทธศาสนา ดังนั้นที่ชอบอ้างกันว่าพระรอดมีน้อยนั้นไม่จริงแน่นอนครับ เพราะพระรอดแตกกรุหลายครั้ง ครั้งแรกๆมากมายด้วย    หลังๆมาก็อาจจะน้อยลงเรื่อยๆ ดังนั้นพระรอดจะต้องมีมากมายครับ ไม่ใช่น้อยๆกันอย่างที่คิด
5.การแกะบล๊อกพระรอด ที่สร้างจำนวนมากๆ จะต้องไม่ใช้ช่างแกะคนเดียว จะต้องมีช่างแกะบล๊อคหลายๆคน เพราะสมัยก่อนพระราชวังจะต้องมีฝ่ายศิลป์หรือกองช่างหลวงคล้ายๆปัจจุบัน ดังนั้นพระรอดจึงแยกออกมาได้หลายพิมพ์ อย่างเช่น พิมพ์ใหญ่ก็จะแยกย่อยไปตามบล๊อคที่แกะอีกที แต่ก็จะมีลักษณะใกล้เคียงกันมากๆ เพราะพระไม่ได้มาจากบล๊อคเดียวกันทั้งหมด
6.เมืองลำพูนสมัยโบราณกว้างครอบคลุมถึงไหนต้องศึกษาอีกหน่อย พระรอดที่ร้างยุคเดียวกันอาจจะไม่ได้ฝังกรุอยู่ที่เดียวกันก็ได้ อาจจะฝังอยู่ตามหัวเมืองต่างๆ และอีกประการหลักฐานทางธรณีวิทยา เมืองลำพูน ประมาณ 500-600 ปีมาแล้วได้มีแผ่นดินไหวอย่างรุนแรงทำให้เมืองจมลงไปในดินในระดับลึกหรือแผ่นดินอาจจะเคลื่อนทำให้กรุที่ฝังอยู่เคลื่อนไปตามดินได้ ทำให้พระรอดอาจจะแตกกรุออกมาจากอำเภอใกล้เคียงหรือชุมชนใกล้เคียงได้
7.คนเฒ่าคนแก่สมัยเก่าก่อนเขาไม่ได้มีแว่นขยายหรือกล้องส่องพระเหมือนดังปัจจุบัน ดังนั้นการแยกแยะพระรอด เขาจะอาศัยการดูเนื้อพระและพิมพ์พระเท่านั้น และพิสูจน์เนื้อพระ เป็นที่มาของการเปรียบเทียบ  ว่าคมเหมือนขอบพระรอด หรือพระรอดจะต้องแกร่งเหมือนหินสามารถกรีดกระจกเป็นร่องลึกเล็กๆได้โดยที่พระไม่บิ่นหรือสึกหรอ
8.พระรอดไม่ได้มีแต่เนื้อหนึกนุ่มแบบดินดิบอย่างเดียว พระรอดยังมีเนื้อละเอียดปนหยาบด้วย เนื้อคล้ายผงหินแกร่งมากๆ
9.บางคนชอบบอกว่าเป็นพระอุโมงค์เชียงใหม่ ลองไปศึกษาประวัติศาสตร์ดูดีๆนะครับ เมืองเชียงใหม่สมัยพระยาเม็งรายเคยมาตีเมืองลำพูนสมัยพระยาอะไรจำไม่ได้ แล้วได้ยึดเอาพระ และวัตถุมงคลต่างๆไปมากมาย พระรอดก็อาจเป็นส่วนหนึง ที่พระยาเม็งราย เมื่อ 700-800 ปีก่อน ได้ขนเอาพระรอดจากเจดีย์ที่แตกหักพังทลาย โดยสั่งให้ทหารเก็บรวบรวมแล้วไปบรรจุไว้ที่กรุวัดอุโมงค์เชียงใหม่ 
ครับเก็บเอาไว้เป็นข้อคิดกันนะครับ อย่าไปยึดติดกับราคา ขนาดผมมั่นใจว่าเป็นพระรอดลำพูนหรือพระรอดมหาวัน  ผมเจอคนถูกใจผมยังให้ฟรีเลยครับ ไม่คิดเป็นตัวเงินด้วยซ้ำ  อย่าลืมนะครับพวกตั้งตนเป็นเซียนทั้งหลายชอบตีพระคนอื่นเก๊ ของตัวเองแท้หมด อีกอย่างพระอยู่กับชาวบ้านกับอยู่ที่คนมีเงิน แม้จะเป็นพระกรุเดียวกัน มันก็ตีค่าราคากันคนละเรื่องครับ เอาอย่างใจศรัทธาดีกว่าครับ ถ้าเรามั่นใจว่าแท้ไม่ต้องไปแคร์ใครห้อยคอบูชาได้เลยครับ ผมเจอถ้าราคาไม่แรงก็เก็บสะสมไว้ครับ   และไม่เคยตีของใครเป็นพระเก๊ ถ้าผมไม่รู้จักหรือไม่เคยเห็น ผมก็บอกว่าบอกตามตรงเลยครับ ใครมีข้อคิดแบบวิทยาศาสตร์ก็ลองช่วยเสนอความคิดดูนะครับ 


http://www.web-pra.com/Forum/Topic/Show/41932/Page/1

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น