หากจะกล่าวถึงพระที่ได้ชื่อว่าเป็นยอดแห่งนิรันตรายแล้ว “พระรอด” ก็ได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งไม่มีสองด้วยประสบการณ์ตั้งแต่สมัยอดีตถึงปัจจุบันทำให้พระรอดมีค่านิยมสูงขึ้นเป็นเงาตามตัว
หากจะกล่าวถึงพระรอดแล้วหลายๆ ท่านอาจจต้องกล่าวถึงต้น
กำเนิด พระรอดนั่นคือกรุมหาวัน ซึ่งได้มีการพบกรุพระรอดนี้
ครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ.2435ซึ่งเป็นปีที่มีการบูรณะ
พระเจดีย์มหาวันซึ่งได้ชำรุดและพังทลายลงมาบางส่วนซึ่งตรงกับสมัย เจ้าหลวงเหมพินทุไพจิตร เป็นเจ้าหลวงปกครองเมืองลำพูน ทางวัดได้ทำการปฏิสังขรณ์องค์เจดีย์ขึ้นใหม่ซึ่งในการบูรณะ
ครั้งนี้ได้พบพระรอดอยู่ภายในกรุมากที่สุด
ปีพ.ศ.2451 พระเจดีย์ใหญ่วัดมหาวันชำรุดทางวัดได้ทำการ
รื้อออกและปฏิสังขรขึ้นใหม่ในการปฏิสังขรณ์นั้นได้พบพระรอดจำนวนมาก และได้นำออกแจกจ่ายให้กับข้าราชการและผู้ร่วมงานในขณะนั้น ซึ่งพระรอดกรุนี้ถือเป็นพระรอดกรุเก่า ในการนี้ทางวัดมหาวันได้จัดพิธีสร้าง
พระรุ่นใหม่บรรจุไว้แทนซึ่งคาดเดาว่าน่าจะเป็นพระรอดที่ครูบากองแก้ว
สร้างไว้หรือที่เรียกกันในหมู่ผู้นิยมพระเครื่องว่า “พระรอดครูบากรองแก้ว”
ผ่ามาถึงปี พ.ศ.2498 ได้มีการขุดพบพระรอดด้านหน้าวัดและใต้ถุนกุฏิพระได้พระรอดเป็นจำนวนเกือบ 300 องค์ซึ่งกรุนี้ถือว่าเป็นพระรอดกรุใหม่ ต่อมาในปี พ.ศ.2506
ทางวัดมหาวันได้ทำการรื้อพื้นพระอุโบสถเพื่อทำการปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ก้ได้พบพระรอดอีกเป็นครั้งสุดท้ายจำนวนประมาณ 300 องค์เศษถือว่าเป็นพระรอดกรุใหม่รุ่นสองนอกจากพระรอดแล้วยังขุดพบพระสกุลลำพูนเกือบทุกพิมพ์ แต่พระรอดนั้นได้พบที่วัดมหาวันเพียงแห่งเดียวเท่านั้นจึงถือว่าเป็นเอกลัษณ์เฉพาะของวัดมหาวัน
ด้วยพระรอดเป็นที่นิยมกับผู้นิยมพระเครื่องจึงมีการสร้างขึ้นหลายวัดและหลายวาระ แต่จะมีคนรู้สักกี่คนว่ามีการสร้างพระรอดพิธีหนึ่งขึ้นที่เชียงใหม่เมื่อปี พ.ศ.2496 ที่วัดพระสิงห์ แล้วยังมีตกค้างอยู่ถึงปัจจุบันที่วัดแห่งหนึ่งใจกลางกรุงเทพ
มาพูดถึงประวัติของพระรอดวัดพระสิงห์กันก่อนดีกว่ามีการบันทึกไว้ว่า
พระรอดวัดพระสิงห์เชียงใหม่สร้างขึ้นเมื่อปี 2496 พระเกจิสร้างพิธียิ่งใหญ่ที่สุด
ในประวัติศาสตร์ล้านนา พระรอดเป็นหนึ่งในพระเครื่องในชุดเบญจภาคี ซึ่งเป็นที่นิยมเป็นอย่างสูงและมีราคาแพงมาก หากไม่มีพระรอด มหาวัน พระรอดรุ่นใดทีมีพุทธคุณใกล้เคียงกับของเดิมมากที่สุดหลายท่านยืนยันว่า พระรอดวัดพระสิงห์ เชียงใหม่ ปี2496 ใช้ดีไม่แพ้พระรอดอายุพันกว่าปีของลำพูน ในการสร้างพุทธสถาณเชียงใหม่ ซึ่งได้กระทำพิธีวางศิลาฤกดิ์ เมื่อวันที่28 พค 2496 เวลา 11.45 น. และในเดือนเดียวกันนั้นเอง ตรงกับวันขึ้น10ค่ำ เดือน7 ปีมะเส็ง จัตวาศก จุลศักราช 1315เริ่มพิธี 9 นาฬิกา 21นาที 41 วินาที
และเริ่มจุดเทียนชัยเวลา 19.20 น. โดยมีพล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ เป็นประธาน ประกอบพิธีมหามงคล สร้างพระรอด จำนวน84,000 องค์ เพื่อนำรายได้สมทบทุนสร้างพุทธสถาณเชียงใหม่
พระรอดวัดพระสิงห์ 2496
วัสดุในการสร้าง
ใช้ดินบริเวณทิศเหนือของวัดพระคง จังหวัดลำพูน ซึ่งเชื่อกันว่าพระรอดมหาวันในสมัยพระนางจามเทวีก็ใช้ดินบริเวณนี้สร้าง จึงทำพิธีตั้งศาลเพียงตาอารธนาขอจากพระพุทธรูปและอารักษ์ที่รักษา ดินแดนแห่งนั้น จากนั้นขุดลงไปเพียง3ศอกก็พบดินขุยปูตามที่ต้องการ ลักษณะดินละเอียดเหนียว เมื่อนำมาสร้างพระแล้วแกร่งและสวยงามมาก เมื่อได้ดินที่ต้องการแล้วก็ให้อ.ผู้ทรงคุณวุฒิละลายดินด้วยน้ำพระพุทธมนต์ แล้วนำมากรองด้วยผ้าขาว เก็บผงดินที่ละเอียดเหมือนแป้งมาผสมกับผงพระธาตุ ผงพระเปิม ผงพระเลี่ยง ผงพระคง ผงพระรอด ผงสมเด็จบางขุนพรหม ผงตรีนิสิงเห ผงปั้ทมัง ผงพุทธคุณ และผงอิทธิเจของพระเกจิอาจารย์รุ่นเก่า เช่นหลวงปุ่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า เมื่อผสมจนเข้าเนื้อเดียวกันแล้วก็ปั้นเป็นก่อนกลม ขนาดเท่าผลส้ม ส่งลงมากรุงเทพ ให้อ.ฉลอง เมืองแก้ว (อ.ขมังเวทย์) เป็นผู้ทำพิธีใส่ธาตุ แล้วนำกลับสู่เมืองลำพูน เพื่อให้ช่างพิมพ์องค์พระออกมาซึ่งมีทั้งหมด11พิมพ์
เมื่อถึงเวลาฤกษ์พระมหาราชครูวามมุณี กับท่านพราหมณ์พระครูศิวาจารย์แห่งกรุงเทพ เป็นประธานฝ่ายพราหมณ์ มหาปัญจพิธีโอมอ่านศิวะเวทย์อัญเชิญท้าวเทพยดาทั้งหลายที่สิงสถิตในแผ่นดินล้านนา อัญเชิญพระวิญญาณ เจ้าแม่จามเทวีและกษัตริย์ทุกพระองค์ เมื่อจุดเทียนชัย พระมหาราชครูอ่านโองการชุมนุมเทวดา เสร็จแล้วพราหมณ์เป่าสังข์ จบแล้วคณาจารย์ทั้งหมดนั่งปรกบริกรรม ปลุกเสกเป็นเวลา3วัน3คืน
คณาจารย์ที่ร่วมในพิธีอาทิ เจ้าคุณศรีสมโพธิ์ วัดสุทัศน์ เจ้าคุณศรีสุวรรณวิสุทธิ์ เจ้าคณะจังหวัดลำปาง หลวงปุ่นาค วัดระฆัง หลวงพ่อสด วัดปากน้ำ หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม ครูบาวัง วัดบ้านเด่น พระครูอาคมสุนทร วัดสุทัศน์ หลวงพ่อเปลี่ยน วัดใต้ หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี หลวงพ่อภักดิ์ วัดบึงทองหลาง หลวงพ่อทบ วัดเขาชนแดน หลวงพ่อแฉ่ง วัดบางพัง หลวงพ่อนอ วัดกลางท่าเรือ หลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ หลวงปู่เผือก วัดกิ่งแก้ว หลวงพ่อสำเนียง วัดเวฬุวัน ฯลฯ
ในขณะทีทำพิธีบวงสรวงเจ้าแม่จามเทวี มีฝูงผีเสื้อเป็นจำนวนมากบินมาอยู่เหนือเครื่องสังเวย แล้วกระจายบินหายไป คืนที่กระทำพิธีฟ้าคะนองตลอด เกิดแสงแปลบปลาบทั่วท้องฟ้า อากาศเยือกเย็นผิดจากวันอื่นๆ ส่วนคณาจารย์ทั้งหลายต่างเกิดนิมิตรเป็นมงคลต่างๆกัน
จะเห็นได้ว่าคณาจารย์ที่มาร่วมพิธีปลุกเสกพระรอดวัดพระสิงห์นี้ล้วนมีชื่อเสียงในวงการพระเครื่องทั้งนั้นครับ ทั้งเป็นผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ และเชี่ยวชาญพระเวทย์วิทยาคมต่างๆอาทิ
พระมงคลเทพมุนี หรือหลวงพ่อสด วัดปากน้ำ ผู้อธิษฐานจิตพระผงของขวัญวัดปากน้ำรุ่น1ถึงรุ่น3 อันลือชื่ออ.สุวัฒน์ พบร่มเย็น ลูกศิษย์ใกล้ชิดของหลวงปู่โต๊ะเคยเล่าให้ฟังครั้งหนึ่งว่า "หลวงพ่อสดท่านดีจริง เก่งจริง ตอนท่านแจกพระของขวัญคนเข้าแถวยาวออกมาถึงหน้าบ้านนี่ (ตลาดพลู)” หลวงพ่อสดนี้ท่านๆไม่ค่อยออกมาปลุกเสกนอกวัดแต่ที่วัดพระสิงห์นี้ท่าน
ก็ออกมาปลุกเสกให้
พระเทพสิทธินายก หรือหลวงปู่นาควัดระฆัง พระที่หลวงพ่อฤาษีลิงดำยังนับถือว่าเป็นพระอรหันต์
หลวงพ่อเปลี่ยนวัดใต้ องค์หลวงพ่อเปลี่ยนท่านมีชื่อเสียงด้านคงกระพันครับดังจะเห็นได้จากนักเลงพระยุคเก่าให้คำจำกัดความว่า “อยากเจ้าชู้ต้องวัดเหนือ อยากเป็นเสือต้องวัดใต้” นั่นหมายถึงว่าถ้าอยากได้วัตถุมงคลด้านเมตตามหานิยมต้องไปหาหลวงปู่ดี วัดเทวสังฆาราม หรือวัดเหนือ แต่หากอยากได้วัตถุมงคลประเภทคงกระพันต้องไปขอกับหลวงปู่เปลี่ยน
ที่วัดชัยชุมพลชนะสงคราม หรือวัดใต้
หลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ นี้ท่านเก่งทางเวทวิทยาคมมาก ถึงขนาดที่ว่าเคยปราบเสือสิงด้วยด้ามกลดมาแล้ว เป็นพระที่หลวงปู่โต๊ะให้ความนับถือมากอีกองค์หนึ่ง
หลวงพ่อนอ วัดกลางท่าเรือ ผู้เคยอธิษฐานจิตปลุกเสกตระกรุดหนังหน้าผากเสือทูลเกล้าถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาแล้ว
หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี หากจะกล่าวถึงองค์หลวงปู่โต๊ะแล้วที่จะเล่นเรื่องหลวงปู่โต๊ะ ได้สนุกที่สุดก็คือ อ.สุวัฒน์ (อ.เบิ้ม) ด้วยท่านเป็นศิษย์ที่หลวงปู่โต๊ะท่านสอนทั้งด้านวิปัสสนากรรมฐาน และด้านกานปลุกเสกเครื่องรางของขลังให้กับอ.เบิ้มตั้งแต่อ.เบิ้มยังหนุ่มๆ ความสนิทของหลวงปู่โต๊ะ กับท่านอ.เบิ้มนี้ถึงขนาดที่ครั้งหนึ่งได้เกิดน้ำท่วมวัดประดู่ องค์หลวงปู่โต๊ะถึงกับขี่คอ
ท่านอ.เบิ้มกลับกุฏิมาแล้ว อ.เบิ้มนี้ท่านได้กล่าวถึงหลวงปู่โต๊ะว่า องค์หลวงปู่โต๊ะท่านถึงแล้วซึ่งวิมุตติสุข และวิมุตติธรรมท่านคอยแต่บอกกับลูกศิษย์ทั้งพระสงฆ์และฆราวาสที่มาเรียนวิชาปลุกเสกเครื่องรางของขลังกับท่านว่า
“วิชาเสกเครื่องรางของขลังนี้เป็นเพียงกลอุบายในการฝึกสมาธิของโบราณจารย์ อย่าไปยึดติด”
“ ถ้าอยากเสกของขลังจริงๆ แล้วเอาคาถาไปใช้อยู่สองตัว คือคำว่า “พุทโธ” ท่องบนให้จนขึ้น
ใจจะทำอะไรก็ให้ท่องไว้”
ดังนั้นของที่หลวงปู่โต๊ะเสกทุกชิ้นจึงมีค่ามากสำหรับลูกศิษย์
รวมถึงหลานศิษย์อย่างผู้เขียนด้วย
หลวงพ่อทบ วัดชนแดน สำหรับองค์หลวงพ่อทบนี้ท่านมีชื่อด้านคงกระพันชาตรีถึงขนาดที่ว่าสมัยที่ท่านมีชีวิตอยู่เคยมีประสบการณ์ด้านคงกระพันเกิดขึ้นกับชายคนหนึ่งซึ่งขัดขวางการปล้นรถของโจรในสมัยนั้น ลูกกระสุนของโจรไม่สามารถที่จะทำอันตรายชายคนดังกล่าวได้
หลวงปู่และหลวงพ่อทั้งหลายเหล่านี้ก็มาปลุกเสกพระรอดพิธีวัดพระสิงห์นี้ด้วยความเต็มใจ
พระรอดวัดพระสิงห์จึงเป็นอีกตัวเลือกหนึ่งสำหรับผู้นิยมชมชอบ “พระรอด” มาช้านาน
คราวนี้จะกล่าวถึงสถานที่ซึ่งมีพระรอดวัดพระสิงห์นี้ให้บูชาคือที่ คณะ 2 วัดสุทัศน์ ซึ่งที่คณะ2 นี้ได้พระรอดวัดพระสิงห์มาเพราะท่านเจ้าคุณพระศรีสุจจญาณมุนี (ประหยัด ปัญญาธโร) อดีตเจ้าคณะ 2 วัดสุทัศน์ ท่านขึ้นไปปลุกเสกพระรอดชุดวัดพระสิงห์นี้แล้วทางวัดพระสิงห์ก็มอบพระรอดให้ท่านเพื่อให้ท่านแจกลูกศิษย์และทำสาธารณประโยชน์ต่อไป ท่านเจ้าคุณจึงนำพระรอดวัดพระสิงห์นี้กลับมาที่วัดสุทัศน์แล้วนำเข้าพิธีพุทธาภิเษกที่วัดสุทัศน์จัดขึ้นอีกหลายคราว ทำบุญพระรอดวัดพระสิงห์นี้ 2,500 บาทได้ทั้งพระแท้และได้บุญที่ได้บูรณพระอารามหลวงในคาราวเดียวกันด้วยครับ
ขอบคุณ คุณพรรค คูวิบูลย์ศิลป์ สำหรับภาพพระรอดมหาวันพิมพ์ใหญ่ องค์แชมป์ คุณศิษย์กวง ที่เป็นแรงบันดาลใจในการเขียนครับ....
http://www.oknation.net/blog/print.php?id=707083
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น